วิธีปลูกถั่วงอกในขวด, วิธีปลูกถั่วงอกในดิน, วิธีปลูกถั่วงอกในตระกร้า

รวม วิธีปลูกถั่วงอกในตะกร้า และวิธีอื่นๆ ยอดฮิต ปลูกตามง่าย ทำตามได้จริงที่บ้านคุณ !

ถั่วงอกเป็นผักที่ปลูกง่าย เติบโตเร็ว และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ การปลูกถั่วงอกที่บ้านนั้นไม่ยากเลย และคุณสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ถั่วงอกนำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู เหมาะกับเมนูต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผัด ใส่ในซุป หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยว จนกลายเป็นหนึ่งในผักที่ผู้คนชื่นชอบ สำหรับใครที่ชอบกินถั่วงอกอยู่แล้ว หรืออยากเริ่มปลูกผักกินเองที่บ้าน นอกจากการปลูกพริกจากเมล็ดที่เราเคยแนะนำไปแล้วนั้น ถั่วงอกก็เป็นผักสวนครัวอีกหนึ่งอย่างที่ DIYINSPIRENOW อยากมาแนะนำกันในบทความนี้ค่ะ เอาหล่ะ เรามาเตรียมของ และไปปลูกกันเลย

วิธีปลูกถั่วงอกในตระกร้า ในขวด หรือวิธีอื่นๆ ต้องทำยังไง ?

Image Credit : freepik.com

วิธีปลูกถั่วงอกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษใดๆ เราสามารถเริ่มปลูกถั่วงอกในขวดโหล ในตะกร้า หรือในดินก็ได้เช่นกัน ใครที่กำลังสนใจวิธีปลูกผักสวนครัวกันอยู่นั้น มาดูประโยชน์ของถั่วงอก วิธีปลูกถั่วงอกง่ายๆ ที่ทำตามได้จริง และข้อควรระวังในการกินถั่วงอกกันดีกว่าค่ะ

ถั่วเขียว ตราไร่ทิพย์

ประโยชน์ของถั่วงอก มีอะไรบ้าง ?

ก่อนจะไปดูวิธีการปลูก เรามาดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่า ถั่วงอก มีประโยชน์ยังไงต่อสุขภาพกันบ้าง

  1. ให้วิตามินและแร่ธาตุ : ถั่วงอกอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามินเคที่สำคัญสำหรับการแข็งตัวของเลือด และโฟเลตที่จำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียมและแมงกานีส
  2. แหล่งโปรตีนจากพืช : ถั่วงอกเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีจากพืช เหมาะสำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติ หรือผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ โปรตีนเหล่านี้ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ใยอาหารสูง : ช่วยในระบบย่อยอาหารและการขับถ่าย ใยอาหารยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ลดความอยากอาหาร และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. แคลอรี่ต่ำ : ด้วยปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำ ถั่วงอกจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก สามารถกินได้ในปริมาณมากโดยไม่ต้องกังวลเรื่องแคลอรี่
  5. ต้านอนุมูลอิสระ : ถั่วงอกมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซีและสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจและมะเร็ง
  6. ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน : วิตามินซีในถั่วงอกมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น และอาจช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการหวัด
  7. ดีต่อหัวใจ : การบริโภคถั่วงอกเป็นประจำอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในถั่วงอกมีส่วนช่วยในการปกป้องหัวใจ

ปลูกถั่วงอกในตระกร้า ต้องทำยังไง ?

Image Credit : freepik.com

การปลูกถั่วงอกในตระกร้า เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีพื้นที่ในการปลูกที่กว้าง ไม่ต้องเตรียมอะไรที่ยุ่งยาก แถมสะดวกในการเก็บเกี่ยว เราลองมาดูวิธีกันค่ะ

สิ่งที่ต้องเตรียม :

  1. ถั่วเขียว 1 ถ้วย
  2. น้ำเปล่า 3 ถ้วย
  3. ตะกร้า
  4. ผ้าขาวบาง
  5. หม้อแบบมีฝาปิด

ขั้นตอนวิธีปลูกถั่วงอกในตะกร้า :

  1. ใส่ถั่วเขียวที่ล้างแล้วลงไปในหม้อ เติมน้ำลงไปแล้วปิดฝา จากนั้นปล่อยให้ขยายตัว ทิ้งไว้ 5-7 ชั่วโมง
  2. กรองถั่วเขียวออกจากหม้อด้วยผ้าขาวบาง
  3. วางตะกร้าลงบนหม้อ วางผ้าขาวบางลงไปบนตะกร้า เทถั่วลงไปแล้วเกลี่ยให้ทั่วกัน จากนั้นปิดฝาแล้วทิ้งไว้
  4. หมั่นล้างถั่วเขียวทุกๆ 4 ชั่วโมง เพื่อรอให้แตกหน่อ
  5. พอครบ 7 วันก็จะได้ถั่วงอกที่โตสวย ให้เก็บรักษาไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อนำไปประกอบอาหารต่อไปได้เลย

วิธีปลูกถั่วงอกในขวด

Image Credit : freepik.com

หมดกังวลเรื่องของการหาภาชนะในการปลูกถั่วงอก เพราะเราสามารถใช้วิธีปลูกถั่วงอกในขวดโหลได้อย่างง่ายและรวดเร็ว มาดูขั้นตอนกันเลย

สิ่งที่ต้องเตรียม :

  1. ถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
  2. น้ำ 3 ถ้วย
  3. ขวดโหล
  4. ผ้าขาวบาง
  5. หนังยาง

ขั้นตอนวิธีปลูกถั่วงอกในขวด :

  1. ล้างถั่วเขียวให้สะอาด และเลือกเมล็ดถั่วที่เสียหาย รวมถึงสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออก
  2. ใส่ถั่วลงในขวด
  3. เติมน้ำเย็นสะอาดลงไป เมล็ดถั่วจะขยายตัวเมื่อแช่น้ำและใช้พื้นที่มากขึ้นเมื่อแตกหน่อ ดังนั้น ใส่น้ำลงไปแต่ให้มีพื้นที่เหลือเพียงพอในขวด
  4. ปิดฝาขวดโหลด้วยผ้าขาวบาง แล้วมัดด้วยหนังยาง
  5. วางขวดโหลไว้ในที่มืดที่อุณหภูมิห้อง ทิ้งไว้ 8-12 ชั่วโมง หรือข้ามคืน
  6. เมื่อได้เวลา ให้เทน้ำทั้งหมดออกจากขวด จากนั้นคลุมด้วยผ้าขาวบางอีกครั้งแล้วนำไปวางไว้ในที่มืด
  7. ล้างถั่วในขวดและระบายน้ำออกอย่างน้อยวันละสองครั้ง จากนั้นปิดฝาใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดถั่วเหม็นอับหรือขึ้นรา
  8. เมื่อได้ถั่วงอกขนาดที่ต้องการแล้ว (ประมาณ 2-4 วัน) ให้นำออกจากขวดและล้างให้สะอาด สามารถกินได้ทันทีหรือเก็บในภาชนะที่แห้งในตู้เย็นได้นานถึง 1 สัปดาห์
ตะกร้าพลาสติก ตะกร้าสี ขนาด 18x25x7cm และ 22x29x7cm สีฟ้า สีแดง สีเขียว

ปลูกถั่วงอกในดิน ทำยังไง ?

วิธีปลูกถั่วงอกในขวด, วิธีปลูกถั่วงอกในดิน
Image Credit : vecteezy.com

ถั่วงอกนอกจากจะปลูกในขวด และตะกร้าแล้วนั้น ยังสามารถปลูกลงดินได้เหมือนกับการปลูกผักชีฝรั่ง และมีวิธีที่ง่ายไม่แพ้กันเลยค่ะ มาดูวิธีปลูกถั่วงอกในดินแสนง่ายนี้กันต่อค่ะ

สิ่งที่ต้องเตรียม :

  1. ต้นกล้าถั่วงอก
  2. ดินร่วน
  3. พลั่วขนาดเล็ก
  4. แหนบสำหรับคีบต้นกล้า
  5. หญ้าสำหรับคลุมดิน

ขั้นตอนวิธีปลูกถั่วงอกในดิน :

  1. เตรียมดินด้วยการไถพรวนดินด้วยพลั่ว เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ และกำจัดวัชพืชอื่นๆ ทิ้งด้วย
  2. ขุดหลุมลึก 1 นิ้วสำหรับถั่วงอกแต่ละต้น ระวังอย่าอัดดินลงไป ดินควรจะร่วนเล็กน้อยและไม่แน่นจนเกินไป
  3. ใช้แหนบคีบถั่วงอกแต่ละต้นเพื่อไม่ให้โดนรากที่โผล่ออกมา แล้ววางแต่ละต้นลงในหลุมที่เตรียมไว้ 
  4. เติมดินลงไปในแต่ละหลุม ระวังอย่าใส่ดินมากเกินไป
  5. รดน้ำให้ดินมีความชื้นประมาณ 2-3 นิ้ว เพราะถั่วงอกมีรากตื้น ดินควรชื้นตลอดฤดูปลูก จากนั้นโรยคลุมด้วยหญ้าคลุมดินเพื่อกักเก็บความชื้นไว้
  6. จากนั้นคอยรดน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์จนกว่ายอดจะออก ซึ่งต้นกล้าจะแตกยอดหลังจากปลูกประมาณ 2-3 สัปดาห์

ข้อควรระวังในการกินถั่วงอก มีบ้างมั้ย ?

ถั่วงอกเป็นอาหารที่มีประโยชน์ แต่ก็มีข้อควรระวังในการบริโภคเช่นกัน ลองมาดูรายละเอียดกันสักหน่อยค่ะ

  1. การปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย : ถั่วงอกดิบอาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของแบคทีเรียอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา หรือ E. coli ควรล้างให้สะอาดและปรุงสุกก่อนรับประทาน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์
  2. สารยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุ : ถั่วงอกมีสารที่อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น เหล็กและสังกะสี การปรุงสุกจะช่วยลดปริมาณสารเหล่านี้ได้
  3. อาการแพ้ : บางคนอาจแพ้ถั่วเขียวซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของถั่วงอก ผู้ที่แพ้ถั่วชนิดอื่นๆ ควรระมัดระวังในการกิน
  4. ก๊าซในกระเพาะอาหาร : เนื่องจากมีใยอาหารสูง ดังนั้นการกินถั่วงอกในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือมีก๊าซในกระเพาะอาหารได้
  5. สารยับยั้งเอนไซม์ : ถั่วงอกดิบมีสารยับยั้งเอนไซม์บางชนิดที่อาจรบกวนการย่อยอาหาร การปรุงสุกจะช่วยลดปริมาณสารเหล่านี้
  6. การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด : ถั่วงอกมีวิตามินเคสูง ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานของยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนกินค่ะ
  7. การเพาะในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม : ถั่วงอกที่เพาะในสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาดหรือใช้น้ำที่ปนเปื้อนอาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษหรือเชื้อโรค ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้

โดยทั่วไป การกินถั่วงอกในปริมาณพอเหมาะและปรุงสุกอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้มาก แต่หากมีข้อสงสัยหรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการก่อนเติมถั่วงอกในมื้ออาหารประจำวันนะคะ

ผ้าขาวบาง (มีให้เลือก3ขนาด) เย็บริมอย่างดี

Inspire Now ! : วิธีปลูกถั่วงอกในในตะกร้า และวิธีอื่นๆ ที่เราแนะนำนั้น เป็นวิธีง่ายๆ ที่ทำได้ และไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ สามารถแช่ถั่วเขียวแล้วรอให้เปลี่ยนเป็นถั่วงอกได้อย่างง่ายดาย แต่หากเป็นวิธีปลูกถั่วงอกในดินนั้น แนะนำให้ปลูกต้นกล้าลงดินโดยตรง แทนที่จะแช่เมล็ดก่อน เพราะเมล็ดถั่วมีแนวโน้มที่จะแตกหรืองอกไม่ได้หากปริมาณน้ำในดินสูงเกินไปนั่นเองค่ะ

DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพหรือเปล่า ? ใครที่ชื่นชอบการปลูกพืชผักสวนครัว หรือกำลังมองหาวิธีปลูกถั่วงอกอยู่นั้น สามารถนำเอาวิธีที่เราแนะนำไปทำตามกันได้เลย แล้วอย่าลืมมาคอมเมนต์อวดถั่วงอกของคุณกับเราบ้างนะคะ ♡

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW