ชวนเช็กสัญญาณของ Abusive Relationship เราอยู่ในความสัมพันธ์แบบนี้หรือเปล่า ! ถ้าใช่ ต้องทำยังไงดี ?!
เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Abusive Relationship หรือเปล่า ชวนทำความเข้าใจประเภทของความรุนแรง และหาทางออกจากสภาวะที่ toxic กัน
ในยุคสมัยที่การเข้าถึงความรู้ เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แค่ปลายนิ้วคลิก ไม่ว่าเราจะอยู่บ้าน จะเดินทาง จะทำอะไร อยู่ที่ไหน ก็สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้แบบที่เรียกว่าอาจจะใช้เงินซื้อหาความรู้ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับในยุคสมัยก่อน
แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า หลายครั้งที่ความรู้ที่มีอยู่ของเรา มันไม่ได้ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือหลายครั้งเราก็ไม่รู้เลยว่า เราจะนำความรู้ที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้ยังไง วันนี้ DIYINSPIRENOW ได้รับเกียรติจากคุณขวัญ อริญญา เถลิงศรี ผู้ที่มีความเชื่ออย่างที่สุดว่า Lifelong Learning คือเรื่องที่สำคัญกับชีวิตของเราจริงๆ เรามาพูดคุยเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากประสบการณ์ของคุณขวัญกันเลยค่ะ
“ตอนนี้เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งของ SEAC ซึ่งเป็นศูนย์การพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ พี่ Focus ในเรื่องที่จะพาให้คนอยากที่จะเกิดการเรียนรู้ และไม่หยุดรู้ และต้องหาวิธีการที่จะทำให้เค้ารู้สึกว่าการเรียนรู้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน นั่นคือภาพหลัก”
“พี่อาจจะไม่ได้เป็นเด็กที่เรียนธรรมดา แต่ใน 10 ปี แรกของชีวิตที่จำได้คือมาจาก ครอบครัวที่เห็นตัวอย่าง คุณพ่อของพี่เป็นข้าราชการในกระทรวงพาณิชย์ แต่คุณพ่อจะไปรับสอนพิเศษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวัยเด็กก็จะ enjoy ที่จะไปกับคุณพ่อ คิดว่าอันนี้เป็นตัวเริ่มต้นที่สำคัญ ตอนแรกๆ ที่ไปก็จะ enjoy กับการไปทานขนมที่ท่าพระจันทร์ แต่พอตอนหลังๆ ไปแล้วรู้สึกว่าอิน ชอบจังเลย คุณพ่อจะไม่ได้ไปยืนเลคเชอร์ แต่จะเรียกๆ นักศึกษามานั่งจับกลุ่มคุยกัน คุณพ่อไม่ได้สอนแบบเป็นอาจารย์ แต่อยากใกล้ชิด ในวัยเด็กก็เลยซึมซับกับการสอนของคุณพ่อ ส่วนเรื่องการใช้ชีวิต ทุกเสาร์อาทิตย์ จะไปนั่งดูคุณยายนั่งทำอาหาร ถามวิธีการทำอาหารต่างๆ และอีกเรื่องที่โชคดีคือ คุณแม่จะเน้นเรื่องวิธีการพูด บุคลิก มารยาท คุณแม่ก็จะคอยสอน ดังนั้นในช่วง 10 ขวบแรกก็จะอยู่กับ 3 คนนี้เยอะ และถูก shape แบบไม่เหมือนกัน คือของคุณพ่อก็จะ inspired เรื่องของการสอน แกอิน แล้วนักเรียนก็อิน คุณยายจะทำกับข้าว และใส่ใจในทุกจาน ก็จะเห็นวิธีการใส่ใจ แล้วก็คุณแม่จะสอนเราเยอะเรื่องของความรู้ skill เรื่องคน เพราะคุณแม่เน้นเรื่องการพูดจา การเข้าสังคม”
“พี่อาจจะต่างกับคนอื่นๆ คือยังไม่มีอะไรชัดเจน แต่พี่รู้สึกเอาอย่างคุณพ่อมา พี่เอาตุ๊กตามาวาง แล้วขอให้คุณพ่อซื้อกระดานมาวาง แล้วก็สอนตุ๊กตา แล้วก็ลูกพี่ลูกน้อง มานั่งเรียนกับเรา ตอนนั้นเป็นความฝันหรือเปล่าไม่รู้ แต่ชอบบรรยากาศของคุณพ่อ รู้สึกว่าอยากเลียนแบบ”
“ตอน 10 -18 พี่ไม่ได้เป็นเด็กแถวหน้า แต่เรียนได้ เรียนโอเค ไม่ได้เรียนแย่ แต่คุณพ่อชอบพาเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ ก็เลยเป็นเด็กที่ enjoy ในโลกกว้าง ในการพบปะผู้คน มีบางช่วงคุณพ่อต้องขับรถไปเจอเกษตรกร คุณพ่อก็จะไปคุย ไป empathy พวกพ่อค้าข้าว ชาวนาที่ปลูกข้าว คุณพ่อไม่ได้เอาลูกน้องมารายงาน แต่เอารถของกรมไป แล้วก็ไปแวะ แล้วเราก็ชอบตาม และถูก influences ว่า มันไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียนที่โรงเรียน พอไปฟังเกษตรกรพูด ไปดูเรื่องข้าว กาแฟ ไร่ชา ไร่กาแฟ ฟังแล้วรู้สึก enjoy กับชีวิตที่ไม่ได้เรียนในห้องเรียน looking forward ที่จะไปกับคุณพ่อมากกว่าเรียนในห้องเรียน กับที่คุณพ่อคุณแม่ส่งไปค่าย ไปแคมป์ ไม่ชอบอะไรที่เป็น former learing ชอบการเข้าไปสัมผัส ไปเรียนรู้ ไปฟัง พี่ถูก form มาแบบนั้น และในขณะเดียวกับ hand on ของคุณยาย มันคู่ขนานกันไปหมด คือทุกจานที่จะทำใหม่ ก็จะทดลอง จะชิม พี่ก็จะเรียนไปกับแก คือการ experiment การจับของจริง ก็เลย enjoy กับโรงเรียนที่เป็นเชิงกิจกรรม เวลาไปเที่ยวกับคุณพ่อก็ไม่ใช่แค่ไปเที่ยว แต่จะ enjoy การเข้าใจเรื่องของ local พอ local ก็ไปเรียน”
เพราะเป็นเด็กที่ enjoy กับการเรียนนอกห้องเรียน คุณพ่อของคุณขวัญจึงส่งไปเรียนที่แคนาดา และนั่นคือจุดเปลี่ยนชีวิตครั้งสำคัญของคุณขวัญในอายุ 18
“คือพี่อยู่มาแตร์พอเรียนจบแล้วก็ย้ายไปอยู่สาธิตปทุมวัน ตอนม.ปลาย พอพี่จบคุณพ่อก็พูดกับพี่ว่า ด้วยลักษณะการเรียนของพี่ พี่อาจจะไป enjoy กับการเข้าสู่ระบบปริญญาตรีในเมืองไทย คือคุณพ่อมองว่าเราเรียนแบบนี้ ก็เลยติดต่อไปหาคุณน้าที่เป็นหมออยู่ที่แคนาดา ตอนนั้นคนไทยไม่ค่อยรู้จักแคนาดา ตอนแรกอยู่กับคุณน้าก่อน แล้วย้ายมาอยู่เอง ที่เปลี่ยนแปลงคือ ครูภาษาอังกฤษ ชื่อมาร์ช บอกกับพี่ว่า ขวัญ คุณต้องคุยกับคน อย่าไปอยู่กับคนที่แค่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง คุณต้องอ่านหนังสือ ดูทีวี ต้องออกไปสัมผัสยังไง แล้วก็เวลาวีคเอนก็จะรับไปบ้านที่เป็นฟาร์ม เราไปเรา interact ได้แลกเปลี่ยน ได้สอนทำอาหารไทย ทำให้พี่ได้ pick up เรื่องภาษากับเค้า ด้วยวิธีการที่แทบไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ครูก็บางทีก็ชวนลูกศิษย์คนอื่นมาบ้าง หรือลูกครูก็เป็นคน Canadien เค้าก็ enjoy กลายเป็นว่าทุกๆ weekend เป็นสิ่งที่เรา enjoy พี่ก็เลยรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง What if ถ้าในประเทศไทย สอนภาษาอังกฤษแบบนี้ ที่ผ่านๆ มาคือเด็กเรียนไม่ดี หรือวิธีการสอนไม่ใช่ มันเอ๊ะ ตอนนั้น ก็เลยเริ่มรู้สึกตอนนั้น พอตอนที่พี่เรียนตรีโท พี่โชคดี คือ ณ ทุกๆ จุดจะเจอ Professor ที่ สนิทด้วย และเค้าไม่ believe เรื่องการยืนเลคเชอร์อยู่หน้าห้อง ก็เห็นภาพนั้นอย่างต่อเนื่อง learning มันจะต้องสนุกด้วย ไม่ใช่แค่การมายืนอยู่ที่หน้าห้อง ดังนั้นช่วงตลอดเวลาที่อยู่แคนาดาก็เลยสนใจ และเริ่มที่จะศึกษาลึกขึ้น แล้วตอนแรกๆ ที่เริ่มชอบ ก็โทรหาคุณหาว่าอยากเรียนเป็นครูอนุบาล ลงเรียนเป็นปริญญาตรี คุณพ่อพูดแค่ว่า เอาอย่างงี้ก่อนนะ อย่างเพิ่ง jump ตรงนั้นไป การสอนเราสอนได้หมด แต่เราไปปู background ก่อนดีมั้ย ไปเข้าใจ ปีแรกไปเข้าใจหน้ากว้างก่อนจะไปตัดสินใจ คุณพ่ออยากให้เข้าใจคล้ายๆ กับ general concept ก่อน พี่ก็ appriciate นะ ที่คุณพ่อบอก แต่ก็เริ่มคิดแล้วหล่ะว่าเราเริ่มที่จะสนใจ field นี้ แล้วก็ศึกษามาตลอด ถึงพี่จะเลือกสาย business แต่ก็มองภาพว่ายังสนใจตรงนี้ ก็ไปทำ volunteer หลายๆ อย่าง ทำกิจกรรมเยอะมาก ชอบกับการอยู่กับคน การถ่ายทอด แล้วก็คิดว่ากลับมาเมืองไทยอยากทำอะไรแบบนี้ นั่นคึอจุดเปลี่ยนของชีวิตพี่”
“ตอนกลับมาก็มาทำ APM Group ก่อน เปิดบริษัทกับเพื่อนสองคน เพื่อนคนนี้เรียนแคนาดามาด้วยกัน คิดว่าให้คนไทยเรียนแบบเดิม มันไม่ใช่ มันอาจจะมีเด็กแค่กลุ่มเดียวคือเด็กที่ขยันท่องจำ เรียนเก่ง แต่ไม่เชื่อว่าคนอื่นที่ไม่ได้คะแนนดีๆ เป็นคนเรียนไม่เก่ง ก็เลยบอกว่าอยากมา field นี้ day 1 ที่พี่กลับมา มันคือ 24 อายุตอนนั้นถ้าพี่ทำธุรกิจนี้ไม่มีใครฟังพี่ แล้วก็พี่ไม่ได้มาจากคนฐานะร่ำรวย ดังนั้นคุณพ่อบอกว่าถ้าจะทำธุรกิจ พ่อมีแค่นี้ให้ลูกลงทุน ลูกต้องหาต่อเอง พี่ก็นั่งคุยกับเพื่อน ว่าอยู่ดีๆ จะไปนั่งทำเรื่องของ training learining พี่ไปมหาลัยก็ยากมาก ที่จะเข้าไปแทรกแซง ระบบการศึกษาไทย ก็เลยมองว่าเอาคนจบมาแล้วกัน แล้วก็ไปพัฒนาเค้า ตอนนั้นก็เอาไอเดียนั้นทำแพลนไปเรื่อยๆ แล้วก็หาเงิน ก็เลยเริ่มต้น APM (Asia Pacific Management) ก็คือตั้งแต่ต้นก็คิดว่า ฉันไม่อยากทำแค่ในประเทศไทย ต้องทำใน Asia Pacific ด้วย ก็เลยเริ่มต้น เหมือน start up ในวันนี้ ก็คือเริ่มต้นหาเงิน ณ ตอนนั้น ไม่มีใครไปเรียนแคนาดา พี่กับเพื่อนเพิ่งกลับมา ก็เลยเปิดแนะแนวการศึกษาต่อแคนาดา ตอนนั้นที่ไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ มีตั้งแต่เรื่องแนะแนวการศึกษาต่อ จนกระทั่งธุรกิจเทรนนิ่ง คือเตรียมว่าจะทำธุรกิจเทรนนิ่ง ปีแรกๆ ยังไม่ได้เปิดตัวว่าทำธุรกิจเทรนนิ่ง ต้องมาทำ business plan ต้องมาทำความเข้าใจ เงินที่พี่ได้มาก็ไม่ได้เยอะ คุณพ่อคุณแม่ก็ส่งเรียนมาเยอะแล้ว ที่บ้านก็ไม่ได้มีใครเคยทำธุรกิจ ก็เริ่มทำการส่งเด็กไปเรียนต่อแคนาดา แล้วก็โชคดีมากคือสำเร็จ หนึ่งคือในตลาดไม่ได้มีตอนนั้น ก็คือมีแค่แนะแนวศึกษาต่ออังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา แต่ไม่มีตรงนี้ มีคนมาสมัคร เด็กไปเรียนแล้ว เราก็ยังพูดคุยกับเค้า เพราะเราเอาตัวเองเข้าไปใส่ ว่าตอนที่เราไปเราเจออะไร ยังไง เราหา family ที่ดีให้เค้าอยู่ เราก็ใส่ใจทุกจุด ธุรกิจนั้นก็เลยทำให้เรามีเงินเก็บ 2 ปี ดีมาก จริงๆ แล้วถ้าทำต่อก็อาจจะดีมากตอนนั้น เพราะว่ามันเป็น Blue Ocean แต่มันไม่ใช่เป็น purpose แรก ทำจนกระทั่งเก็บเงินได้เพียงพอ พี่กับเพื่อนก็เลยเริ่มเปิดตัว”
คุณขวัญเล่าต่อว่า ทำ APM ประมาณ 2 ปีก็เริ่มเปิดตัวธุรกิจอบรม โดยเริ่มจากมองหา partners เพื่อเอาคอนเทนต์ดีๆ มาพัฒนาคน มาสอนคน ทำมาต่อเนื่องหลายสิบปี คุณขวัญจึงมองหานักลงทุนที่จะมาต่อยอดขยายเป้าหมายให้ธุรกิจเติบโตไปได้ในระดับ South East Asia จึง Rebrand จาก APM มาเป็น SEAC (South East Asia Center) และได้ AP Thai ที่มีความเชื่อในเรื่องเดียวกันมาช่วยต่อยอดสานฝันต่อไป
“ถ้าพูดถึงภาพในช่วงเริ่มต้น อาจจะเจอกับต้มยำกุ้ง แต่ว่าชีวิตที่พี่เจอหนักสุด คือตอน 30 – 40 พอเวลาธุรกิจมันเล็กแล้วมันโตขึ้น ความสามารถมันไม่มี เราไม่ได้รู้ เพราะเราอยู่กับมันทุกวันและมันก็ค่อยๆ เติบโต แต่การบริหารคนจาก 20 คน ไปเป็น 50 คน การบริหารคนที่จบมาใหม่ กับคนที่มีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พี่ failed เยอะ ช่วง 30 – 40 มันเป็นช่วงที่ ช่วงต้นมันช่วง set up ธุรกิจ โตมากับธุรกิจ เราเจอปัญหา อุปสรรค คือเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นเรื่องต้มยำกุ้ง อะไรต่างๆ ทีมงานเราเป็นน้องๆ เด็กๆ ที่ยังคุยกันรู้เรื่อง พอตอนที่เราสามสิบกว่า เราเจอคนมากมาย หลายหลายประสบการณ์ บางคนอายุมากกว่าเรา บางคนประสบการณ์มากกว่าเรามหาศาล ความคิดเริ่มแตกต่าง ตอนนั้นพี่บริหารองค์กรแย่มาก ตอนสามสิบต้นๆ เพราะว่ามันเริ่มเปลี่ยนมือ เปลี่ยนวิธีการ บริหารการเงินแย่มาก เพราะจากธุรกิจเล็กๆ มันต้องมีค่าใช้จ่ายโน่นนั่นนี่ เพราะงั้นการเงินแย่มาก บริหารคนแย่มาก บริหาร conflic แย่มาก มีคนเก่า คนใหม่ แล้วสิ่งที่เคย enjoy ว่าตัวเองจะต้องมา interact กับลูกค้าเอง ก็ต้องมามี sales มีอะไรที่ต้อง interact กับลูกค้า ก็เลยรู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรที่ตัวเองอยากทำ แต่ต้องมาแก้ไขปัญหา ดังนั้นตอนสามสิบต้นๆ ถึงสามสิบห้า ต้องปรับตัวเยอะมาก ไม่สนุกเลย ฉันไม่ได้มาทำธุรกิจเพราะแบบนี้ ฉันไม่ได้จะนั่งแก้ปัญหาเรื่องคน มานั่งแก้ปัญหาเรื่องระบบ ช่วง suffer จะอยู่ไปจนถึงสามสิบกลางๆ จนกระทั่งสามสิบปลายๆ รู้สึกต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง รู้สึก failed เยอะด้วย พอตอนหลังพี่ก็ไปถามกับลูกน้องเก่าว่า พี่ manage แย่ ที่สุด ห่วยที่สุดก็คือช่วงนั้นแหละ เพราะเราจากเล็กๆ มาแล้วมาเจออย่างนี้ เราทำไม่เป็น แล้วเราไม่รู้ด้วยว่าเราทำไม่เป็น เพราะเราคิดว่าเราสำเร็จมาด้วยอันนั้น เราเติบโตมาเรื่อยๆ เราทำไม่เป็น แล้วพี่ failed กับ ดูแลคนไม่ดี ระบบไม่ดี แล้วค่อยๆ เรียนรู้ จนกระทั่งกว่ามันจะเรียนรู้ บางทีมันสายเกินไป”
คุณขวัญบอกว่าเจออุปสรรคมาเยอะไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิกฤตต้มยำกุ้ง น้ำท่วมกรุงเทพฯ เรียกว่า 30 กว่าปีที่ผ่านมา ไม่มีวันไหนที่จะไม่เจออุปสรรค
“ดังนั้นการที่ต้องมาเป็นเจ้าของกิจการใดๆ ตั้งแต่แรก คือการเตรียมพร้อมกับสิ่งที่เราไม่เจอ เราไม่รู้ คือพี่มองว่าไม่มีอะไรสวยหรู อดทนมา 2 ปี 24 ถึง 26 เพื่อที่จะสามารถมาเปิดสิ่งที่เราอยากทำได้ ไปเซ็นต์อะไรมาได้หมด ได้ไม่นานคือต้มยำกุ้ง นั่นคือเป็นทุกข์แล้ว อดทนว่าจะไปหาเงินจากไหน หรืออยู่ดีๆ เจอยุคน้ำท่วมกรุงเทพฯ บริการไม่ได้เลย คนก็อพยพไปต่างจังหวัดบ้าง ลูกค้าไม่จ่ายเงิน เพราะเค้าไม่มีเวลาอบรม ตอนนั้นตึกอยู่ที่ราชประสงค์ ยังไม่ได้อยู่ที่นี่ก็เจอเรื่องการเมือง เสื้อเหลือง เสื้อแดงปิดราชประสงค์ ในการทำงาน ถ้าคนจะทำอะไรเอง แล้วมองว่าทุกอย่างมันคือสวยหรู มันไม่มี แต่เราจะเอาตัวเองเข้าไป แล้วเจอแต่ละจุด แล้วผ่านมันไปยังไง อย่างของพี่ จุดสำคัญเลยก็คือ พี่ไม่ได้มีคำตอบทุกเรื่อง แต่ทุกเรื่องที่เกิดขึ้น เรานิ่งก่อนหรือเปล่า แล้วเรา reach out คุยกับคนที่รู้เรื่องนั้น และแนะนำเราได้
Learning คือไม่ใช่แค่เรียนในห้องเรียน ดึงสติกลับมาให้ได้ก่อน แล้ว reach out ไม่อายที่จะขอความช่วยเหลือ ไม่อายที่จะไปให้คนรู้สึกว่าพี่ไม่เก่งเรื่องอะไร ไม่อายที่จะไปบอกตรงๆ ว่าพี่ไม่รู้เรื่องอะไร พี่มองว่าการเรียนรู้ที่สำคัญของนักธุรกิจ หรือถ้าจะคุยกับคนที่เป็นเล็กๆ เริ่มต้นเนี่ย อย่าคิดว่าเราต้องอาย เราต้องมีความกล้า แล้วพี่มองว่า network สำคัญ โชคดีคือเราได้จากคุณแม่มาคือเป็นคนที่ believe เรื่อง Human interaction พบปะกับผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย ก็เลยทำให้เราเอาตัวเองผ่านมาทุก chapter ได้ อันนี้เป็นเรื่องจริงที่อยากแนะนำกับคนที่อยากทำอะไรเอง”
“หยิบสิ่งที่เรียนมาใช้ได้แค่แรกๆ ที่พี่ set up มา แต่พอเป็นชีวิตจริง พี่ค่อยๆ เริ่มจากสองคนมา แต่พอมาเริ่มเป็น 50 คน มันคนละเรื่อง ไม่เหมือนกัน คือสิ่งที่แคนาดามันช่วยไม่ได้ เพราะมันไม่ได้มาสอนเราว่าจะสองคนมาเป็น 50 มันเป็นยังไง ลูกค้าจาก 5 ราย มาเป็น 50 ราย มาเป็น 100 ราย แปลว่ายังไง คนที่ดีลมาจาก background ต่างกันมันเป็นยังไง ไม่มีในตำรา เป็นจุดที่ struggled ในชีวิตมากๆ”
“ก็กลับไปใหม่ กลับไปเริ่มต้น เริ่มเรียนใหม่ แต่ก็เสียลูกน้องเก่งๆ ไปเยอะนะ คือเรายังบริหารแบบที่เรายังมีธุรกิจเล็กๆ ลูกน้องก็ไม่อยู่กับเรา ได้คนเก่งมาก็ลาออก คนที่อยู่กับเราก็เป็นกลุ่มแบบเดิม ก็ได้คนที่แบบคิดเหมือนเรา พูดเหมือนเรา เพราะงั้นเราก็เลยเริ่มเรียนใหม่
มีอยู่วันนึงก็นั่งร้องไห้ แล้วก็รู้สึกว่า ทำไมเรา failed ขนาดนี้ เราทำมาแทบตายนะ ทำไมเรามาเจออย่างนี้ ก็เริ่มร้องไห้ แล้วก็บอกกับพ่อว่า เดี๋ยวจะปิดกิจการแล้ว เพราะรู้สึก suffer มาก ตอนนั้นมองออกหมด ทำไมคนเป็นอย่างนี้ ระบบเป็นอย่างนี้ ลูกค้าเป็นแบบนี้ แต่ลืมมองตัวเอง พอวันนึงที่เริ่มมองตัวเองก็เริ่มไปลงเรียนเพิ่ม ไป seek out ไปคุยกับคนเพิ่ม ไปหาคนมาแนะนำเพิ่ม ไปดูอะไรยังไงเพิ่ม ไปลงคอร์สเพิ่ม สมัยนั้นยังไม่มีออนไลน์เยอะ บินไปเรียนเพิ่ม บินไปเรียนที่สิงคโปร์ ไปเรียนที่ออสเตรเลีย อเมริกา เหมือนแบบเริ่มใหม่ ก็เลยแบบอ๋อ นั่นคือ believe ใน life long learning จากจุดนึงมันได้แบบนี้ แล้วพอเอามา apply ก็เริ่ม crack ออก ตอนนั้นก็เริ่มสามสิบกว่าๆ ก็มีลูก เริ่ม suffer เพราะมี relationship มีครอบครัว ท้องตอน 35 เริ่มรู้สึกว่ามีหลายอย่างต้องเรียนรู้ใหม่ even การเป็นคุณแม่ แล้วก็มีลูกได้แป็บเดียว คุณพ่อเสีย คุณพ่อคือ role model ของชีวิตพี่ ตอนนั้นสติแตกหลายเรื่องมาก ทั้งเรื่องงาน ตอนหลังมาทำตัวเองให้ใจว่างๆ กับรู้สึกตัวเองต้องไม่ยึดติดกับอะไร อันนั้นคือตัวคลิกของชีวิตวัย 34-35 ที่ว่า สิ่งที่ได้มามันไม่พอเลย state ของชีวิตมันเปลี่ยนไปแล้ว ยังเอาอะไรแบบเดิมมาใช้ มันไม่ได้”
คุณขวัญเล่าต่อว่า ชีวิตเริ่มดีขึ้น หาทางออกได้มากขึ้นในช่วงวัย 36 และก็พบอุปสรรคอีกครั้ง
“พี่มาเจออีกจุดนึงคือ 6 ปีที่ผ่านมา คือมาอยู่ตรงนี้ มันก็เป็นอีก state นึง พี่ว่าเราเรียนรู้ แล้วเราก็รู้ละ แล้วเราก็ยังใช้วิธีคือตอนที่เรา 35 มาใช้กับตอนที่เรา 45 – 46 มันก็เจ็บตัวอีก พี่ไม่เคยมี investor แล้วต้องมาทำงานกับ investor แล้วก็มาเจอกับตอนที่ลูกเป็นวัยรุ่น ทุกอย่างมันต้อง unlearn ใหม่ unpack ใหม่ พี่วิ่งหาเยอะมาก ที่เรียกว่า counselor ของชีวิต เป็น life coach หาคนที่สอนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ reframe ตัวเองอีกครั้ง กว่าที่จะรู้สึกอย่างวันนี้”
ในฐานะที่คุณขวัญทำงานในแวดวงการศึกษา และจากการพูดคุยประสบการณ์ชีวิตของคุณขวัญก็พบว่า คุณขวัญเป็นคนที่เชื่อในเรื่อง Lifelong Learning เราจึงอยากให้คุณขวัญขยายความเกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตว่าคืออะไรกันแน่
“พี่มองว่าสิ่งที่พี่มี พี่ใช้ตลอดไม่ได้ เพราะด้วย state ของพี่ที่เจอ พี่เรียกคำนั้นว่า learning ก่อน การเรียนรู้ สิ่งที่ติดตัวมามันไม่พอ lifelong เราไม่รู้หรอกว่าเราจะเจอเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ lifelong คือ as long as ที่เรายังมีชีวิตอยู่ as long as เรายังมีลมหายใจอยู่ เราอย่าคิดว่าสิ่งที่เรารู้อยู่ในหัว ประสบการณ์ที่เราได้มันเพียงพอแล้ว เราต้องจับตัวเองให้ได้ว่าเรากำลังอยู่ตรงไหน แล้วก็มองว่าตลอดชีวิตของเรา คำว่า life เราต้อง learn เมื่อไหร่ นี่คือ believe กับคำว่า lifelong learning แต่ไม่ได้บอกว่าต้องเรียนทุกวัน แต่มันวิ่งไปกับ state ของชีวิต ทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่แค่เรื่องงานนะ สำหรับพี่นะ สำคัญมากกับความสัมพันธ์คุณแม่ สามี ลูกสาว คนที่บ้าน เพื่อน ดังนั้น ในแต่ละ state เราใช้มิติเดียวไม่ได้ คุณแม่เราก็อายุมากขึ้น ใช้มิติเดียวไม่ได้กับการที่จะต้องมีความสัมพันธ์กับเค้า ดังนั้นเนี่ย lifelong learning คือ เมื่อคุณแม่อายุเท่านี้ เรายังไงกับเค้า พี่เลยบอกว่าเรา believe เรื่อง การเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ วิ่งไปกับในชีวิตที่เราต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว”
“พี่โชคดีมากกว่าที่ พี่มีโค้ชในชีวิตมาต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นจากในบ้าน ลูกน้อง คนที่มาลงทุนให้พี่ ลูกค้า ถ้าพี่รู้สึกมากกว่าเลยก็คือ ทันทีที่เราเปิด ว่าเรารับทุกอย่างได้ ถ้าพี่จะรู้สึกขอบคุณก็คือ พี่ขอบคุณในสิ่งที่พี่ถูกเลี้ยงมา ให้พี่เป็นคนไม่เคยรู้สึกว่าน้ำเต็มแก้ว ถ้าพี่เป็นคนเรียนหนังสือเก่งมาก พี่อาจไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้ เพราะพี่รู้สึกว่าคนที่เรียนหนังสือเก่งมากๆ เค้าจะเชื่อมั่นในตัวเอง สิ่งที่พี่ขอบคุณคือ คนในชีวิตที่เข้ามา along the journey ที่ทำให้พี่ดึงมาในทุกอย่างได้ ที่ทำให้พี่ได้เรียนรู้ ขอบคุณคนรอบด้านเราที่กล้าพูดกับเรา แล้วก็ขอบคุณประสบการณ์ที่ทำให้เราเปิดรับจากตรงนั้น พี่ failed เยอะ พี่พลาดเยอะ แต่ถ้าเราไม่ได้ยินสิ่งเหล่านั้น เราจะไม่ได้เป็นตัวเราในวันนี้”
ความเชื่อในเรื่อง Lifelong Learning จากประสบการณ์ของคุณขวัญเป็นพลัง เป็นตัวอย่าง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเรา และก่อนจะจบบทสนทนาในวันนี้ คุณขวัญได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมในช่วงวัย 50 -60 ว่า “แล้ววันนี้ก็ยังไม่ได้จบกับการเรียน พี่ว่า state ตรงนี้ 50 -60 เนี่ย พี่ว่าก็เป็น state พี่จะทิ้ง legacy ไว้ยังไง แล้วพี่จะสานต่อ ให้มีทายาท ไม่ใช่ต้องลูกสาวนะ มารับ ใน vision lifelong learning ต่อยังไง ตอนนี้พี่ก็ต้องเรียนรู้ ตอนนี้พี่ก็เลยกลายเป็นว่า มาเริ่มเรียนใหม่อีกครั้ง ที่กำลังจะไปสู่ state ที่ว่า ช่วง 50 -60 เรากำลังจะต้องมาทิ้ง chapter สุดท้ายยังไง”
Inspire Now ! : สำหรับตัวเรา ตลอดหนึ่งชั่วโมงที่ได้พูดคุยกับคุณขวัญ รับรู้ได้เลยว่า นอกจากความเชื่ออย่างจริงจังในเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต การ unlearn relearn เพื่อปรับใช้กับสถานการณ์ที่ต้องพบเจอแล้ว อีกอย่างที่เราเห็นได้ชัดในตัวคุณขวัญก็คือ ความตั้งใจในการใช้ชีวิตที่ไม่เพียงตั้งใจเพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่มีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ และการศึกษาในสังคมนี้ด้วย |
---|
คุยกันมาจนถึงตอนนี้แล้ว เราเห็นด้วยกับคำพูดของคุณขวัญจริงๆ ว่า “มันไม่ได้สำคัญว่าอายุเราเท่าไหร่แล้ว แต่มันสำคัญว่า context ที่เราไปเจอมาแต่ละช่วง เราพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองมั้ย”
แล้วคุณหล่ะคะ เกิดความรู้สึกอะไรหลังจากที่อ่านบทสัมภาษณ์นี้จบแล้วบ้าง ?
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? การเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับคุณคืออะไร มาคอมเมนต์พูดคุยกับเรากันนะคะ ♡
เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์แบบ Abusive Relationship หรือเปล่า ชวนทำความเข้าใจประเภทของความรุนแรง และหาทางออกจากสภาวะที่ toxic กัน
Self Hatred แก้ได้ด้วยการฝึกปรับใจกัน ชวนดูวิธีแก้เมื่อรู้สึกเกลียดตัวเอง ไม่ชอบตัวเอง ไม่ชอบตัวเองแค่ไหนถึงเรียกว่าอันตราย หาคำตอบพร้อมเยียวยาตัวเองไปด้วยกัน
ชวนเข้าใจ ศิลปะกับชีวิตผ่านประสบการณ์ของศิลปิน นักออกแบบ และเจ้าของพื้นที่ศิลปะที่เชื่อว่าศิลปะกับวิถึชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน