30 เพลงยุค 90 ผู้หญิง ร้อง ใสๆ ฟังเพลิน ความหมายดี ได้ความสุขทุกครั้งที่ได้ฟัง !
แชร์ลิสต์ เพลงยุค 90 ผู้หญิง ร้อง ใสๆ จัดเต็ม 30 เพลง ความหมายดี ฟังแล้วได้ความสุข ได้พลังดีๆ ได้ย้อนความคิดถึงกลับไปวันวานเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น
ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ ผู้คนต่างยอมรับความแตกต่างหลากหลายกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ภาษา ความหลากหลายทางทัศนคติ แนวคิด ความแตกต่างระหว่างเจนเนอเรชั่น และรวมถึงความหลากหลายทางเพศด้วยเช่นกัน แม้ว่ามนุษย์เราเองจะมีเพศกำเนิดแค่เพียงเพศหญิงและเพศชาย แต่อัตลักษณ์ทางเพศมีมากกว่านั้น มีคำที่เรียกกลุ่มคนหลากหลายทางเพศว่า LGBTQ + ซึ่งแต่ละตัวอักษรนั้น เป็นตัวย่อของคำที่ใช้เอ่ยถึงกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแบบต่างๆ และในเดือนมิถุนายนของทุกปี ก็เป็นเดือน Pride Month เรามารู้จักและเข้าใจกลุ่มคนหลากหลายทางเพศให้มากขึ้นกันค่ะ LGBT มีอะไรบ้าง ? และ Pride Month คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ไปอ่านกันเลยค่ะ
ปัจจุบันนี้ มักจะเรียกกลุ่มคนหลากหลายทางเพศแบบเต็มๆ ว่า LGBTQA + เนื่องจากมีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็มีไม่น้อยที่เรียกกันว่ากลุ่ม LGBT ซึ่งหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยคำนี้กันมากกว่า แต่ก็ใช่ว่าเราจะเรียกกลุ่มคนหลากหลายทางเพศว่าเป็น LGBT ได้หมดทุกคน เพราะผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศบางคนก็ไม่ชอบให้คนอื่นมาตีตราหรือมากำหนดว่าตัวเองเป็นเพศอะไร เพราะพวกเขาแค่เป็นตัวเองเท่านั้น ดังนั้น การที่จะเรียกกลุ่มคนหลากหลายทางเพศว่าเป็นแบบนั้นแบบนี้ตามความเข้าใจของตนเองจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ สิ่งสำคัญคือการเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่นและยอมรับความแตกต่างหลากหลายนี้ เพราะในยุคปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปมาก มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเพศเท่านั้น แต่รวมถึงความเชื่อ ค่านิยม กรอบสังคม ทัศนคติ อย่างไรก็ตาม ได้มีการนิยามและอธิบายอัตลักษณ์ทางเพศไว้อยู่เช่นกัน LGBTQ+ มีอะไรบ้าง ? มาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ
LGBT มีอะไรบ้าง ? คนกลุ่มแรกคือ Lesbian หรือเลสเบี้ยน หมายถึงผู้หญิงที่มีความรักต่อผู้หญิงด้วยกัน มีความสัมพันธ์ฉันท์คู่รักกับคนที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน แม้ว่าคนไทยจะเรียกแยกย่อยเป็นทอม ดี้ ทอมเกย์ เลสเบี้ยน ฯลฯ แต่ในทางสากลแล้ว หากเป็นผู้หญิงที่ชอบหรือรักผู้หญิงเหมือนกัน ก็เรียกรวมๆ ว่าเลสเบี้ยนค่ะ
LGBT มีอะไรบ้าง ? ต่อมาคือ Gay หรือ เกย์ หมายถึงผู้ชายที่มีความรักต่อผู้ชายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเกย์คิง เกย์ควีน เกย์โบท หรือเป็นผู้ชายที่ชอบบุคคลที่มีลักษณะความเป็น masculine เหมือนกัน ก็จะถูกนิยามว่าเป็นเกย์นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ ในทางสากล เราสามารถเรียกกลุ่มคนที่ชอบเพศเดียวกันแบบรวมๆ ว่าเป็นเกย์ได้ด้วย สมมติมีผู้หญิงคนหนึ่งมาบอกว่า “I’m gay” นั่นหมายความว่า เธอชอบเพศเดียวกันนั่นเองค่ะ
Nanmeebooks หนังสือ I Can Do It เชื่อสิ ฉันทำได้ ชุด Louise Hay แรงบันดาลใจ พัฒนาตัวเอง
B เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Bisexual หรือไบเซ็กชวล หมายถึงคนที่รักได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย เรียกได้ว่าชอบได้ทั้งสองเพศนั้นเอง และมีการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศตรงตามเพศสภาพของตัวเอง แต่ว่ามีความรู้สึกสนใจ ชอบ รักใคร่ในเชิงโรแมนติกได้ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม มักจะถูกเรียกสั้นๆ ว่าไบ (Bi) LGBT มีอะไรบ้าง ? ไม่ใช่เฉพาะที่รักเพศเดียวกันเท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่ม LGBT แต่ยังรวมถึงผู้ที่ชอบได้ทั้งสองเพศอีกด้วยค่ะ
LGBT มีอะไรบ้าง ? T หรือกลุ่มทรานส์เจนเดอร์ หมายถึงกลุ่มคนข้ามเพศที่ได้รับการแปลงเพศตามที่ตนเองต้องการ อธิบายง่ายๆ ก็คือ เดิมทีเป็นเพศหญิงแต่แปลงเพศมาเป็นผู้ชาย / เพศกำเนิดเป็นเพศชาย และแปลงเพศมาเป็นผู้หญิงนั่นเองค่ะ โดยผู้ที่เป็นเพศหญิงมาก่อน และแปลงเพศมาเป็นชาย จะเรียกว่า Transman หรือผู้ชายข้ามเพศ ส่วนผู้ที่เคยเป็นเพศชายมาก่อน แล้วแปลงเพศมาเป็นผู้หญิง จะเรียกว่า Transwomen หรือผู้หญิงข้ามเพศนั่นเองค่ะ
ปัจจุบัน ความหลากหลายทางเพศมีมากกว่ากลุ่ม LGBT จึงได้มีการนิยามกลุ่มคนหลากหลายทางเพศขึ้นมาใหม่เป็น LGBTQ + แล้ว LGBTQ + มีอะไรบ้าง ? สิ่งที่เพิ่มเติมมาคือ Queer เดี๋ยวนี้คำว่าเควียร์ ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ผู้ที่นิยามตัวเองว่าเป็นเควียร์ คือกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศนอกเหนือไปจาก LGBT ซึ่งกลุ่มเควียร์ คือผู้ที่สามารถชอบได้ทุกเพศ รักได้ทุกเพศ ไม่ว่าจะเป็นหญิง ชาย ทอม ดี้ เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล หรืออะไรก็ตาม เป็นกลุ่มที่ไม่ได้จำกัดหรือตีกรอบให้ตัวเองว่าจะต้องชอบเพศนั้นเพศนี้เท่านั้น หรือจะต้องแสดงอัตลักษณ์ทางเพศที่เอนเอียงไปทางความเป็น Feminine หรือ Musculine อย่างใดอย่างหนึ่ง พวกเขาจะแสดงตัวตนของตัวเองแบบไหนก็ได้ ตามที่ตัวเองต้องการ และจะรักใครชอบใครก็ได้ ตามที่ใจอยากจะรัก
ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศบางคนนิยามตัวเองว่าเป็น A – sexual หรือผู้ที่ขาดความสนใจในเรื่องเพศ ไม่รู้สึกว่าถูกดึงดูดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดๆ ก็ตาม บางคนอาจไม่มีความรู้สึกโรแมนติก ไม่มีความรู้สึกรักใคร่แบบชู้สาวกับบุคคลอื่น รวมถึงไม่มีความต้องการทางเพศอีกด้วย ผู้ที่เป็น Asexual บางคนอาจอยู่เป็นโสดและไม่มีความสนใจที่จะมีคู่ครอง ในขณะที่บางคนอาจเลือกมีความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “Queerplatonic Relationship” ซึ่งหมายถึงการมีคู่ชีวิตที่มีความรู้สึกเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง โดยที่ไม่มีเรื่องเพศหรือความรู้สึกรักแบบชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง และอาจเกิดขึ้นกับคนเพศเดียวกันหรือคนต่างเพศก็ได้ ถ้าถามว่า LGBT มีอะไรบ้าง กลุ่มคน Asexual ก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้เช่นกัน
iCONiC MOTLEY T-SHIRT เสื้อยืดพิมพ์ลาย สีรุ้ง เสื้อยืดผช เสื้อยืดผญ เสื้อยืดแฟชั่น เสือยืดสีรุ้ง เสื้อยืด LGBT
และที่มีเครื่องหมาย + หรือ Plus นั้น แสดงถึงความหลากหลายทางเพศที่นอกเหนือไปจากนี้ เช่น Intersex, Pansexual, Questioning, Nonbinary และอื่นๆ อีกมากมาย เนื่องจากปัจจุบัน ความหลากหลายทางเพศได้ถูกเปิดกว้างมากขึ้น และแบ่งแยกย่อยได้อีกมากมาย สำคัญที่ว่า เราจะต้องเคารพในความแตกต่างของกันและกัน ไม่ว่าจะมีการแสดงออกทางเพศแบบไหน จะแต่งตัวไปทางเพศหญิงหรือเพศชาย จะรักเพศใดชอบเพศใด เราทุกคนก็คือมนุษย์เหมือนกัน และควรมีความเท่าเทียมกัน ไม่ควรถูกกีดกันหรือทำให้แปลกแยกจากสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
ในเดือนมิถุนายน จะถูกเรียกว่าเป็น Pride Month หรือเป็นเดือนของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ มักจะเรียกกันว่า ชาวสีรุ้ง และใช้ธงสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์ ตอนนี้ทุกคนก็พอจะทราบแล้วว่า LGBTQ + มีอะไรบ้าง ซึ่งมีความหลากหลายมากมาย และสีรุ้งเองก็เป็นการรวมตัวกันของสีหลายสี การใช้ธงสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาจากการออกแบบโดย Gilbert Baker ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978 ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 สี มีความหมายดังนี้
เมื่อพูดถึง Pride Month หรือ Pride Festival ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงในประเทศไทย บางคนก็อาจจะนึกถึงการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคม มีการเดินขบวนพาเหรดของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันสดใส โบกธงสีรุ้ง เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ และตระหนักรู้ในตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ซึ่งกว่าจะมีวันนี้ได้ ในอดีตกลุ่มคนหลากหลายทางเพศต้องต่อสู้กับการใช้ความรุนแรง การเลือกปฏิบัติในสังคม รวมถึงการถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางจิต จะต้องทำการรักษา ทำให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศต้องปิดบังตนเอง เทศกาลไพรด์ที่จัดขึ้นในปัจจุบัน จึงเป็นการแสดงออกและเฉลิมฉลองถึงความภาคภูมิใจในการเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยที่ไม่ต้องปิดบังหรือถูกเลือกปฏิบัติจากสังคมอีกต่อไป
จุดเริ่มต้นของ Pride Month คือ เหตุการณ์จลาจลในบาร์เกย์ที่หมู่บ้านกรีนิช กรุงนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกเข้าไปใน Stonewall Inn สถานที่เกิดเหตุ ในช่วงเวลานั้น การรักเพศเดียวกันถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และการแต่งกายไม่ตรงกับเพศกำเนิดถือเป็นเรื่องผิดบาปในสังคม จึงทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติขึ้น ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดและเกิดเป็นเหตุการณ์จลาจลครั้งใหญ่ แม้ว่าในคืนนั้นเหตุการณ์ความวุ่นวายจะยุติ แต่คืนต่อมาได้มีผู้คนจำนวนหลายพันคนมาที่บาร์เพื่อชุมนุมและแสดงพลังของชาว LGBTQ + ซึ่งการจลาจลที่เกิดขึ้นนั้น กลายเป็นตัวเร่งให้เกิดขบวนการเรียกร้องสิทธิสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งได้มีการเดินขบวนเรียกร้องครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน ปี 1970 ที่นิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และชิคาโก เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่บาร์ Stonewall Inn และในปีต่อๆ มา กลุ่ม LGBTQ+ ก็ออกมาเดินขบวนพาเหรดเพื่อแสดงถึงจุดยืนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2000 ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ได้ประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “เดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวเกย์และเลสเบี้ยน หรือ Gay & Lesbian Pride Month” และอีก 9 ปีต่อมา ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ประกาศให้เดือนมิถุนายนเป็น “เดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ หรือ Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender Pride Month” เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้มีการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศมากขึ้น และมีการเดินขบวนหรือจัดงานไพรด์ในอีกหลายๆ ประเทศ ทั้งในยุโรปและแถบเอเชียเองอย่างในเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ก็มีการจัดเทศกาลไพรด์ในช่วงเดือนมิถุนายนด้วยเช่นกัน
แม้ในประเทศไทยเอง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศยังไม่สามารถแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ได้มีการผลักดันในเกิดกฎหมายสมรสเท่าเทียม บางคนอาจจะคิดว่า แค่ใจเรารักกันก็พอ อยู่ด้วยกัน ดูแลกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องจดทะเบียนสมรสกันก็ได้ แต่การแต่งงานจดทะเบียนสมรสนั้น มีอะไรที่มากกว่าการได้มาซึ่งแผ่นกระดาษใบเดียว เพราะหมายถึงการได้รับการคุ้มครองสิทธิ์ตามกฎหมายในฐานะ “คู่สมรส” ที่มีผลทั้งในเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน การดูแลรักษาทรัพย์สินร่วมกัน การมีอำนาจในการตัดสินใจแทนอีกฝ่ายในขณะที่อีกฝ่ายไร้ซึ่งความสามารถ การรับรองบุตร หรือเรื่องใกล้ตัวอย่างการเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษา เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า คู่ชีวิตของคนเพศเดียวกันต้องเสียชีวิตไปโดยที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ทัน เนื่องจากอีกคนไม่สามารถเซ็นยินยอมให้รักษาได้ เพราะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในทางกฎหมาย แม้จะเป็นคู่ชีวิตกันมาร่วมสิบๆ ปีก็ตาม ดังนั้น กฏหมายที่รับรองการแต่งงานในคนเพศเดียวกันจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมาก มาดูกันดีกว่าว่า มีประเทศอะไรบ้างที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้
ประเทศเยอรมนีได้บัญญัติกฎหมาย “Act on Life Partnership 2000” เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองคู่สัมพันธ์ที่เป็นบุคคลเพศเดียวกันให้เสมือนกับคู่สมรสต่างเพศ โดยกฎหมายดังกล่าวให้สิทธิของบุคคลเพศเดียวกันมีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน และมีผลผูกพันทางกฎหมาย ก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ของคู่ชีวิตเสมือนกับคู่รักต่างเพศที่พึงมีต่อกัน
ประเทศสหราชอาณาจักรประกอบด้วยอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ได้ออกกฎหมายรับรองการจดทะเบียนความสัมพันธ์ของบุคคลเพศเดียวกันที่เรียกว่า The Civil Paetnership 2004 โดยคู่จดทะเบียนความสัมพันธ์จะมีสิทธิและหน้าที่คล้ายคู่สมรสหลายๆ ด้านแต่ไม่ทั้งหมด และการจดทะเบียนความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายที่อนุญาตให้กระทำได้ระหว่างบุคคลเพศเดียวกันเท่านั้น ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายตาม Section 202 of The Equality Act 2010 ซึ่งใช้สำหรับประเทศอังกฤษและเวลส์ ระบุว่าคู่รักเพศเดียวกันสามารถประกอบพิธีทางศาสนาได้ หากองค์กรทางศาสนาผู้ประกอบพิธีดังกล่าวยินยอม
นอร์เวย์เป็นประเทศแรกในกลุ่มนอร์ดิกที่กำหนดให้ใช้กฎหมายสมรส Gender – Neutral แทนที่กฎหมายสมรสดั้งเดิม และรับรองสิทธิในการสมรส เลี้ยงดูบุตรให้เท่าเทียมกันในทุกเพศ ซึ่งกฎหมายสมรส หรือ Gender – neutral Marriage Law เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2562 ซึ่งมีการรับรองสิทธิในการแต่งงานและการเลี้ยงดูที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกเพศ รวมถึงสิทธิ์ในการรับบุตรบุญธรรมและการผสมเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐด้วย
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติแก้ไขกฎหมายสมรส โดยให้ถอนวลี “ต่างเพศ” ออกจากกฎหมายสมรส และให้ใช้คำว่า “บุคคล” ในกฎหมายแทน ซึ่งในประเทศออสเตรียนั้น มีกฎหมายให้คู่รักเพศกำเนิดเดียวกันจดทะเบียนกันได้อยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นกฎหมายที่แยกออกจากคู่สมรสต่างเพศ และได้สิทธิเกือบจะเท่าเทียมกัน แต่เมื่อปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำตัดสินใหม่ ให้แก้ไขกฎหมายสมรสทุกฉบับให้มีความเท่าเทียมกัน
ไต้หวันเป็นที่แรกในเอเชียที่มีกฎหมายการสมรสในคนเพศเดียวกัน โดยเมื่อปี 2565 ไต้หวันได้ออกกฎหมายสมรสขึ้นมาใหม่ ซึ่งเปิดกว้างให้กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เท่าเทียมคู่สมรสต่างเพศ เช่น การให้สมรสกับคู่รักชาวต่างชาติได้เฉพาะคนที่มีสัญชาติของประเทศที่มีกฎหมายรับรองการสมรสในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศแล้วเท่านั้น อนุญาตให้คู่ชีวิตรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ แต่บุตรบุญธรรมต้องมีสายเลือดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสมรสของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเอเชีย ที่อาจผลักดันให้ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมีกฎหมายรับรองการสมรสในคนเพศเดียวกันมากขึ้น
Inspire Now ! : เมื่อพูดถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ บางคนก็อาจจะนึกถึงความมีสีสัน มีความโดดเด่น การมีความมั่นใจในตัวเอง นึกถึงขบวนไพรด์ที่เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนาน ซึ่งเบื้องลึกเบื้องหลังของคนกลุ่ม LGBTQ+ นั้น ต่างก็ต้องผ่านกระบวนการใคร่สงสัยในตัวเอง ความรู้สึกว่าแปลกแยก ไม่เหมือนคนอื่น บางคนอาจถูกล้อเลียน ถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกตราหน้าว่า “ผิดปกติ” รวมถึงการไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว และบาดแผลอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งๆ ที่การอยากเป็นตัวเอง หรือแสดงถึงตัวตนที่แท้จริงของตัวเองออกมา ไม่ใช่เรื่องผิดบาปอะไรเลย หากสังคมยอมรับความแตกต่างหลากหลายได้มากขึ้น เคารพในตัวตนของผู้อื่นมากขึ้น เคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ก็จะไม่มีใครถูกตีตราว่าผิดแผกหรือผิดปกติอีกต่อไป เพราะแท้จริงแล้ว มนุษย์เรานั้นมีความแตกต่างหลากหลายมากเกินกว่าจะถูกตีกรอบด้วยบรรทัดฐานใดๆ |
---|
DIY INSPIRE NOW เป็นแรงบรรดาลใจของฉันใช่ไหม ? การเคารพในความแตกต่างของกันและกัน จะนำมาซึ่งการประนีประนอม และก่อให้เกิดความขัดแย้งน้อยที่สุดค่ะ สาวๆ เห็นด้วยไหมคะ ? ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bbc.com, psy.chula.ac.th, dosomething.org, gaycenter.org
Featured Image Credit : vecteezy.com/pk.niceshot73485
แชร์ลิสต์ เพลงยุค 90 ผู้หญิง ร้อง ใสๆ จัดเต็ม 30 เพลง ความหมายดี ฟังแล้วได้ความสุข ได้พลังดีๆ ได้ย้อนความคิดถึงกลับไปวันวานเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น
ดูดวง ธันวาคม 2567 ก่อนสิ้นปีนี้จะมีอะไรเข้ามาบ้าง มา ดูดวงรายเดือน กับ Soul Tarot แม่นๆ มีพลังงานดีๆอะไรให้เราก่อนสิ้นปีกันนะ
รวมไอเดีย คำคมวันลอยกระทง จัดเต็ม 30 แคปชั่นให้เลือกใช้กันหลากหลาสไตล์ ทั้งกวนๆ ฮาๆ สนุก เศร้า เหงา โสด เอาไปใช้โพสต์ให้สนุกสนานในช่วงเทศกาลกัน