ปัญหาหนึ่งในการเลี้ยงเด็กทารกแรกเกิดที่คุณแม่มือใหม่หลายคนต้องพบเจอ นอกจากการไม่มีน้ำนมจนต้องหาวิธีกระตุ้นน้ำนมแล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพบเจอเช่นกันนั่นคืออาการที่เรียกว่า นอนสะดุ้งหรือนอนผวา เพราะทารกแรกเกิดทุกคนจะเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาตอบสนองของทารกตามปกติ อย่างเช่น ตกใจเพราะเสียงดัง และมีการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน หรือรู้สึกเหมือนกำลังล้ม ทารกอาจตอบสนองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาจกางแขนและขาออก แล้วขดทุกอย่างเข้าอีกครั้ง หรือลูกน้อยของคุณอาจร้องไห้หรือไม่ร้องไห้ด้วยก็ได้ ซึ่งอาการสะดุ้ง หรือ Moro reflex นั้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน และอาจเป็นปัญหาในช่วงเวลานอนหลับได้ เนื่องจากอาจทำให้ลูกน้อยของคุณตื่นจากการนอนหลับสนิท เพราะฉะนั้น หากพบว่าทารกนอนสะดุ้งเราสามารถจัดการได้ แม้ว่าอาการนี้จะเริ่มหายไปภายใน 2-3 เดือน และหายไปอย่างสมบูรณ์เมื่อครบ 6 เดือนก็ตาม แต่เพื่อให้คุณแม่มือใหม่รู้จักวิธีในการรับมือ เรามี 7 วิธีจัดการกับอาการ ลูกนอนสะดุ้ง มาฝากกันค่ะ
7 วิธีรับมือเพื่อไม่ให้ ลูกนอนสะดุ้ง ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับสบายไม่ตื่นกลางดึก
-
ทำให้ทารกรู้สึกผ่อนคลาย
เพื่อไม่ให้ลูกนอนสะดุ้ง ควรทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายในช่วงเวลาที่จะนอน เพราะสัมผัสอันอบอุ่นของแม่จะสร้างความมหัศจรรย์ให้กับทารกได้ เมื่อกอดและสัมผัสกล่อมให้ทารกหลับแล้วนั้น คุณแม่ควรค่อยๆ วางลูกน้อยลงบนเปลอย่างช้าๆ โดยอุ้มลูกน้อยไว้ใกล้ตัวขณะที่คุณหย่อนตัวลงในเปล ยิ่งลูกน้อยของคุณรู้สึกได้รับการปกป้องมากเท่าไหร่โอกาสที่พวกเขาจะตกใจก็จะน้อยลงเท่านั้น วางลงอย่างเบามือที่สุด เมื่อคุณวางลูกน้อยลงในเปลแล้วให้วางมือไว้บนร่างกายสักครู่ ค่อยๆ ละมือออกไปทีละข้างช้าๆ อย่าวางทารกลงบนแปลเร็วเกินไปหรือดึงมือตนเองออกเร็วเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ทารกสะดุ้งตื่นขึ้นมาได้
-
แกว่งเปลเบาๆ
ลองแกว่งเปลทารกเบาๆ ในขณะที่คุณวางทารกลงในเปลแล้ว เพราะการเคลื่อนไหวที่พลิ้วไหวจะสามารถช่วยให้ลดการกระตุกเล็กๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่คุณกำลังวางทารกลง เป็นเคล็ดลับที่สามารถช่วยให้ทารกนอนหลับได้ในขณะที่คุณกำลังเคลื่อนย้ายทารกเข้าเปล
[affegg id=2624]
-
อุ้มลูกน้อยแบบหันหน้าเข้าหาคุณ
การอุ้มลูกน้อยแบบหันหน้าเข้าหาคุณ หรือสไตล์แบบจิงโจ้นั้น จะช่วยลดอาการลูกนอนสะดุ้งได้ดี เพราะตำแหน่งนี้นอกเหนือจากความรู้สึกปลอดภัยแล้ว ลูกน้อยของคุณยังได้กลิ่นคุณ ได้ยินเสียงคุณ และรู้สึกถึงความอบอุ่นอีกด้วย
-
บรรยากาศห้องนอน
พยายามให้ในห้องมีแสงสลัวหรือมืดลงเล็กน้อย ไม่มีแสงจากไฟถนน หรือจากหน้าจอโทรทัศน์ และหลีกเลี่ยงเสียงรบกวนจากภายนอก ห้องนอนควรมีความเงียบและอุณหภูมิเย็นเล็กน้อย พื้นผิวของเปลควรเรียบและมั่นคง สภาพแวดล้อมที่นอนต้องมีสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อจำกัดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้ทารกนอนสะดุ้งได้ หากคุณต้องเคลื่อนไหวไปรอบๆ ลูกน้อยของคุณในขณะที่พวกเขานอนหลับ ให้ทำอย่างสงบที่สุด
[affegg id=2625]
-
เข้านอนเป็นเวลาประจำ
การกำหนดกิจวัตรก่อนนอนที่สอดคล้องและคาดการณ์ได้ตั้งแต่เดือนแรกของทารกนั้น จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นอย่างมากและช่วยแก้ปัญหาลูกนอนสะดุ้งได้ ที่สำคัญที่สุดคุณควรกำหนดเวลาเข้านอนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับลูกน้อยของคุณและปฏิบัติตาม โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งชั่วโมงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้หรี่ไฟและปิดเทคโนโลยีทั้งหมดที่อยู่รอบตัวลูกน้อยของคุณอย่างดีแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้ทารกได้พัฒนาวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติ
-
ห่อตัวทารก
การห่อตัวทารกจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนกับอยู่ในครรภ์ให้กับลูกน้อยของคุณ โดยจะจำกัดการเคลื่อนไหวของลูกน้อย ช่วยลดอาการลูกนอนสะดุ้งและหยุดอาการสะดุ้งได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากทารกจะรู้สึกปลอดภัยและไม่สามารถกางแขนออกได้เหมือนปกติ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับได้นานขึ้นอีกด้วย แต่อย่าห่อตัวแน่นจนเกินไป เพราะการห่อด้วยสิ่งที่คล้ายรังไหมอย่างแน่นหนาอาจส่งผลเสียต่อการนอนหลับของลูกน้อยได้
[affegg id=2626]
-
วางผ้าห่มลงบนหน้าอกทารก
แม้จะห่อตัวทารกแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่ทารกอาจจะยังมีอาการสะดุ้งได้ ลูกน้อยอาจร้องให้คุณกอดและปลอบพวกเขาให้กลับไปนอน การผ่อนคลายตัวเองให้กับลูกน้อยของคุณจะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะกลับไปนอนหลับได้ด้วยตัวเอง ด้วยการวางผ้าห่มไว้บนหน้าอกของทารก เพราะแรงกดที่เพิ่มเข้ามาจะทำหน้าที่เสมือนสัมผัสของคุณและช่วยให้ทารกสงบลงได้ ลดอาการผวาและการนอนหลับไม่สนิท ช่วยจัดการกับอาการลูกนอนสะดุ้งได้ค่ะ
Inspire Now ! : การจะเป็นคุณแม่มือใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะมีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ในการดูแลลูกน้อยของเราให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นวิธีล้างขวดนมที่ต้องทำให้ถูกต้องเพื่อสุขอนามัย วิธีการอาบน้ำที่สะอาดและปลอดภัย รวมถึงวิธีการจัดการกับอาการลูกนอนสะดุ้งที่เราต้องพบเจอในช่วงเวลา 6 เดือนแรกอีกด้วย ซึ่งอาการนี้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่หากเราลดสิ่งกระตุ้นได้ก็จะช่วยให้ลูกน้อยได้นอนหลับสนิท และนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ควรระวังเลยก็คือ อย่าให้มีเสียงดังรบกวนเวลานอน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของแสงแบบกะทันหัน เช่น เดินเข้าห้องมืดมาแล้วเปิดไฟในทันที ควรเปิดเป็นไฟสลัวๆ จะดีกว่า และสุดท้ายที่ทั้งคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่ต้องระวัง คือ อย่าเคลื่อนไหวใกล้ๆ หรือภายในห้องนอนแบบกะทันหัน เพราะจะทำให้ลูกน้อยของเราเกิดอาการสะดุ้งตื่นได้ง่ายนั่นเองค่ะ |
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ใช่หรือไม่ ? สาวๆ ที่เป็นคุณแม่มือใหม่ สามารถนำเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้กันได้นะคะ เพราะสุขภาพการนอนของลูกน้อยสำคัญ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วย หากใครกำลังมองหาคาร์ซีท ยี่ห้อไหนดีนั้น ลองอ่านจากบทความที่เราเขียนไปก่อนหน้านี้ได้เลยนะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medicalnewstoday.com,healthline.com, medicinenet.com, nestedbean.com