blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

อันตรายจากแสงสีฟ้า ภัยร้ายใกล้ตัว แสง Blue Light ทำอันตรายต่อเราอย่างไร ?

ทุกคนเคยได้ยินคำว่า blue light หรือแสงสีฟ้ากันไหมคะ ? เจ้าแสงตัวนี้คือแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา และแหล่งที่มาของแสงที่ใกล้ตัวเราที่สุดเลยก็คือ แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือนั่นเอง หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือยังไม่รู้โทษของ อันตรายจากแสงสีฟ้า ว่ามีอะไรบ้าง ส่งผลอย่างไรกับดวงตาหรือสุขภาพของเรา วันนี้ DIY INSPIRE NOW จึงมีเรื่องราวของแสงสีฟ้านี้มาบอกเล่าให้ทุกคนได้รู้จักกันค่ะว่า blue light คืออะไร ? และเราสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้างค่ะ

อันตรายจากแสงสีฟ้า มีจริงหรือไม่ ? มาหาคำตอบพร้อมวิธีป้องกัน

blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

Image Credit : educationtell.com

  • Blue Light แสงสีฟ้านี้คืออะไร ?

blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

Image Credit : primaryhealthnet.com

blue light คือ แสงสีฟ้าที่เป็นแสงที่มีพลังงานสูง หรือที่ชื่อเป็นทางการว่า High Energy Visible Light (HEV Light) แสงนี้จะผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาวที่เราสามารถมองเห็นได้ และแสงที่เรามองเห็นได้จะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-700 นาโนเมตร โดยแสงสีฟ้านั้นจะอยู่ที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-500 นาโนเมตร เนื่องจากแสงสีฟ้ามีความยาวคลื่นสั้น จึงสามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะกับเด็กหรือวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีอยู่รอบตัวเรา สามารถพบได้จากทั้งในแสงแดด จากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ จอโทรทัศน์ จอแอลอีดี และที่สำคัญเลยคือ จอคอมพิวเตอร์ และจอสมาร์ทโฟน ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาของเราได้นั่นเอง

[affegg id=2633]

  • อันตรายจากแสงสีฟ้า

blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

แสงสีฟ้าจะมีอยู่สองประเภทคือ ประเภทที่มีประโยชน์เรียกว่าบลูเทอร์ควอยซ์ ที่จะมีผลต่อวัฏจักรการนอน การตื่น การใช้ชีวิต และความจำ ส่วนแสงสีฟ้าประเภทที่มีอันตรายจะเรียกว่าบลูไวโอเล็ต และอันตรายจากแสงสีฟ้านั้นก็ส่งผลต่อเราในหลายๆ อย่างด้วยกัน ได้แก่

  1. อันตรายจากแสงสีฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อผิว

  • กระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และผิวหมองคล้ำลง เช่นเดียวกับรังสี UVA และ UVB
  • ทำลายคอลลาเจน และอีลาสตินในชั้นผิว ทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพเร็ว เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผิวหนังหย่อนคล้อย ผิวแห้งขาดความชุ่มชื้น ส่งผลให้ผิวแก่กว่าวัย
  • ผิวอ่อนแอลงเพราะไปทำลายเกราะป้องกันผิว ทำให้เกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอ ทั้งยังไปกระตุ้นให้ผิวอักเสบได้

[affegg id=2635]

  1. อันตรายจากแสงสีฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา

blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

  • อาการตาล้า ตาแห้ง ตาอ่อนไหวต่อแสงแดด เนื่องจากการจ้องมองอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ มีขนาดเล็กทำให้เราต้องเพ่งจอมาก รวมถึงหน้าจอมีความสว่างมาก ทำให้ดวงตาของเราทำงานหนัก นอกจากนี้อาจตามมาด้วยอาการปวดไหล่ ปวดหัว หรือรู้สึกระคายเคืองที่ตา เจ็บตา น้ำตาไหล หรือมองภาพไม่ชัดอีกด้วย
  • จอประสาทตาเสื่อม เพราะแสงสีฟ้าสามารถแทรกผ่านทะลุเข้าไปทำลายเซลล์รับแสงในจอประสาทตาได้ ทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตา และเสี่ยงในการเป็นจอประสาทตาเสื่อมได้ในอนาคต ทั้งยังมีอันตรายจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้
  • ภาวะเซลล์ตาย เพราะเมื่อดวงตาของเราสัมผัสกับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เซลล์ดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และเกิดอาการผิดปกติของค่าสายตา ทำให้สายตาสั้น ยาว และเอียงได้เร็วขึ้น เกิดการชราของดวงตาได้เร็วกว่าปกติ

[affegg id=2634]

  1. อันตรายจากแสงสีฟ้า ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

blue light คือ, อันตรายจากแสงสีฟ้า

Image Credit : lifehack.org

  • ส่งผลกระทบต่อการนอน เพราะแสงสีฟ้าไปรบกวนนาฬิกาชีวิต หากเราได้รับแสงสีฟ้าในตอนกลางคืน จะทำให้มีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทได้
  • มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมไปถึงโรคอื่นๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่สาเหตุคาดว่ามาจากระดับของเมลาโทนินที่สูงๆ ต่ำๆ
  • เพิ่มปัจจัยในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ เนื่องจากการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานานจากการถูกรบกวนจากแสงสีฟ้า สามารถก่อให้เกิดความเครียดและซึมเศร้าได้

วิธีป้องกันตนเองจากแสงสีฟ้า

แสงสีฟ้าสามารถทำอันตรายต่อเราได้ทั้งผิวหนัง ดวงตา และสุขภาพ ดังนั้น เพื่อป้องกันตนเองเราสามารถทำได้ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในเวลากลางคืน หรือในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  2. ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือไม่ให้สว่างจ้าจนเกินไป สังเกตได้จากการที่เราไม่ต้องหรี่ตามองจอ และลดแสงสว่างบริเวณรอบๆ เช่น ปิดไฟดวงที่สะท้อนลงบนหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้อยู่
  3. ติดฟิล์มป้องกันแสงสีฟ้าบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต และจอโทรศัพท์มือถือ เพื่อช่วยลดแสงจ้าจากจออุปกรณ์ลงได้
  4. หากเริ่มมีอาการตาแห้ง ให้หมั่นกะพริบตาบ่อยๆ ให้ได้ 1-2 ครั้งต่อ 10 วินาที เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้ และทุกๆ 20 นาที ควรละสายตาจากหน้าจอไปมองบริเวณอื่นๆ บ้าง เช่น มองออกไปนอกหน้าต่างประมาณ 20 วินาที
  5. ปรับตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากดวงตาประมาณหนึ่งช่วงแขน และปรับให้จออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา รวมถึงท่านั่งทำงานให้สายตากับจอภาพอยู่ในระดับที่สัมพันธ์กัน เพื่อลดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้
  6. สวมแว่นกรองรังสีที่มีคุณสมบัติเป็นเลนส์ตัดแสงสีฟ้า เพื่อถนอมสายตาจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ ไม่ให้สายตาปะทะกับแสงสีฟ้าบนหน้าจอโดยตรง รวมทั้งสามารถปกป้องแสงสีฟ้าจากแสงแดดได้ด้วย สามารถเลือกทรงแว่นสำหรับคนหน้ากลมให้เข้ากับรูปหน้าของตัวเองได้
  7. ใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของวิตามินต่างๆ ที่ช่วยปกป้องผิวและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อาทิ วิตามินซี ลูทีน เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ
  8. ใช้ครีมกันแดดทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน เพื่อปกป้องผิวจากแสงสีฟ้า และรังสี UV ได้อีกด้วย
Inspire Now ! : ครีมกันแดดที่ดี จะต้องมีคุณสมบัติในการกันแดดได้ดี และมีค่า SPF 30+ และ PA+++ ขึ้นไป รวมถึงต้องมีคุณสมบัติป้องกันแสงสีฟ้าได้อีกด้วย เพื่อปกป้องผิวของเราจากทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำ หรือผิวหมองคล้ำ รวมทั้งยังสามารถป้องกันรังสี UVA, UVB และ HEV เพื่อให้ผิวของเราปลอดภัยจากอันตรายแสงสีฟ้าในแสงแดดได้ เราได้รู้จักกันไปแล้วว่า blue light คืออะไร และอันตรายจากแสงสีฟ้านั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งมีหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง และสาเหตุก็มาจากชีวิตประจำวันทั้งสิ้น รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าได้กลายเป็นกิจวัตรในชีวิตของใครหลายคนไปแล้ว เพราะฉะนั้น เพื่อการถนอมดวงตา และปกป้องผิวรวมถึงสุขภาพอื่นๆ ของเรานั้น ควรดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอันตรายของแสงสีฟ้ากันค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบเกี่ยวกับอันตรายของแสงสีฟ้าแล้วใช่ไหม ? เมื่อทุกคนรู้ถึงอันตรายและวิธีป้องกันแล้ว อย่าลืมนำไปทำตามกันด้วยนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medthai.comallaboutvision.comeent.co.th, bth.co.th

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW