แจก ตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่ต้องรับวัคซีนอะไรบ้าง ?!
คุณแม่มือใหม่ฟังทางนี้ ! ทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างหลากหลาย และไม่มากหรือไม่น้อยเกินไปคือสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก และต้องเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิกเพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ทั้งในด้านร่างกายและเซลล์สมองต่างๆ รวมถึงการเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิตตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อีกสิ่งที่เรียกได้ว่า ‘คุณแม่มือใหม่ต้องรู้’ เพื่อให้ลูกน้อยเกิดมาอย่างแข็งแรงและปลอดภัย นั่นก็คือ ‘การฉีดวัคซีน’ นั่นเองค่ะ
Image Credit : unsplash.com
เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ ในทีนี้ อาจกำลังเกิดความรู้สึกกังวลอยู่ว่า จะต้องเตรียมพร้อมมากแค่ไหน และมีฉีดวัคซีนอะไรบ้างที่จำเป็นต่อลูกน้อย คราวนี้เราจะพาเหล่าคุณแม่มาดูตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ไปกับเราทีมงาน DIYINSPRIENOW ได้เลยค่ะ
รู้ก่อนฉีด ! ตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ต้องฉีดอะไร และยังไงถึงจะดี
Image Credit : unsplash.com
การมีลูกเป็นเรื่องใหญ่เสมอสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่หลายคนที่มีเรื่องให้เตรียมความพร้อมหลายอย่าง ทั้งต้องดูแลตัวเอง และบำรุงลูกในครรภ์ ในส่วนของการฉีดวัคซีนนั้น เราได้เรียงมาให้เข้าใจง่ายเป็นตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ทั้งชนิดของวัคซีนและช่วงเวลาที่ควรฉีดเอาไว้ให้แล้ว จะมีวัคซีนคนท้องแบบไหนบ้าง ไปเช็คตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์พร้อมกันเลยค่ะ
[affegg id=4274]
วัคซีน รายละเอียด อายุครรภ์ที่ควรฉีด คำแนะนำ/ข้อควรระวัง โควิด 19 ฉีดวัคซีนด้วยเชื้อสังเคราะห์หรือ แบบ mRNA เท่านั้น ได้แก่ Pfizer และ Moderna 12 สัปดาห์ขึ้นไป ป้องกันโควิดที่อาจส่งผลต่อเด็กและการคลอดก่อนกำหนด / หากฉีดวัคซีนอื่นมาก่อนหน้า ควรเว้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ไข้หวัดใหญ่ ฉีดวัคซีน 1 เข็ม เพื่อกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะปอดบวม และ ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 14-16 สัปดาห์ วัคซีนนี้สามารถเสริมภูมิคุ้มกันได้ตั้งแต่ในท้องและ 6 เดือนหลังคลอด / โอกาสคลอดก่อนกำหนดและโอกาสเสียชีวิตในครรภ์ คอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก เลือกฉีดได้ 2 แบบ 1.วัคซีนรวม (ป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน) หรือ 2.วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดเดี่ยว 27-36 สัปดาห์ ป้องกันได้ตั้งแต่ในครรภ์จนถึงหลังคลอดไปแล้ว 2 เดือน / คุณแม่จะต้องเคยได้วัคซีนป้องกันบาดทะยักในช่วงไม่เกิน 10 ปี
1. วัคซีนป้องกันโควิด 19
เรากำลังอยู่ในยุคของโรคระบาดใหญ่อย่างโควิด 19 ไวรัสที่อยู่กับเรามานานหลายปีจน วัคซีนคนท้องต้องเพิ่มประเภทนี้ขึ้นมาในตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะไวรัสชนิดนี้อาจส่งผลถึงคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างรุนแรงมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทั้งเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และยังกระทบถึงเด็กในครรภ์ได้อีกด้วย และจากข้อมูลมีผู้เสียชีวิตถึง 1.5-8 คน ใน 1,000 คนเลยทีเดียว ดังนั้นแนะนำว่าคุณแม่มือใหม่ควรฉีดวัคซีน Pfizer และ Moderna ซึ่งเป็นเชื้อแบบ mRNA หรือเชื้อแบบสังเคราะห์เท่านั้นค่ะ
ทั้งนี้ ยังมีข้อระวังที่ควรรู้ก่อนฉีดวัคซีน ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์เคยแพ้วัคซีนรุนแรงมาก่อน แพทย์จะไม่อนุญาตให้ฉีดซ้ำ อีกทั้งก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ควรเว้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หากฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ มาก่อน เพราะมีข้อบ่งชี้ว่าห้ามฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 พร้อมกันกับวัคซีนประเภทอื่นค่ะ
ช่วงเวลาที่ควรฉีด : อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือนเป็นต้นไป
2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
นอกจากวัคซีนโควิด 19 แล้ว กลุ่มโรคไข้หวัดที่มีมานานและรุนแรงเช่นกันก็คือ ‘ไข้หวัดใหญ่’ นั่นเอง ไวรัสชนิดนี้พัฒนาสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นไข้หวัดใหญ่ขึ้นมา ก็จะสามารถส่งต่อไปถึงลูกน้อยได้ง่ายๆ เลยค่ะ เพราะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและโอกาสเสียชีวิตในครรภ์ 2-4 เท่า หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มากถึง 2 เท่า ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไว้ดีกว่าแก้ เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น ภาวะปอดบวม หรือภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ดังนั้น ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทั้งขณะที่ลูกน้อยอยู่ในท้อง และนานถึง 6 เดือนหลังคลอด
ช่วงเวลาที่ควรฉีด : อายุครรภ์ตั้งแต่ 14 -16 สัปดาห์ หรือ 4 เดือน เป็นต้นไป
Image Credit : unsplash.com
[affegg id=4275]
3. วัคซีนป้องกันคอตีบ วัคซีนป้องกันไอกรน และวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
มาต่อกันที่วัคซีนตัวต่อมาในตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ เป็นวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กน้อยที่อาจมีความเสี่ยงติดเชื้อไอกรน คอตีบ และบาดทะยัก ซึ่งติดได้จากคุณแม่ หรือคนรอบกาย หากได้ฉีดวัคซีนแล้วสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ในครรภ์จนถึงหลังคลอดไปแล้ว 2 เดือน เพราะช่วงเดือนหลังคลอดนั้นเป็นช่วงอันตรายที่เด็กจะมีโอกาสติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด
อีกทั้งประเภทของวัคซีนนั้นจะมีเป็นวัคซีนรวม ป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap, TdaP) และ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดเดี่ยว (aP) แต่มีเงื่อนไขว่าในช่วงไม่เกิน 10 ปี คุณแม่จะต้องได้วัคซีนป้องกันบาดทะยักมาอย่างครบถ้วนก่อน แต่ถ้าไม่ได้เป็นเช่นนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักชนิดเดี่ยวเพิ่มเติม ซึ่งมีความสำคัญมากเนื่องจากระหว่างคลอดบุตร ไม่ว่าจะเป็นวิธีผ่าตัดคลอด หรือคลอดแบบธรรมชาติก็ตาม มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อทั้งนั้น
ช่วงเวลาที่ควรฉีด : อายุครรภ์ตั้งแต่ 27 – 36 สัปดาห์ หรือ 6 – 9 เดือนเป็นต้นไป
วัคซีนแบบไหนควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์
สำหรับวัคซีนที่ควรเลี่ยงนั้น ได้แก่วัคซีนป้องกันอิสุกอิใส วัคซีนป้องกันงูสวัด วัคซีนป้องกันคางทูม วัคซีนป้องกันหัด และวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เพราะวัคซีนเหล่านี้ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจส่งผลให้เด็กในท้องพิการในหลายๆ ส่วนของร่างกายได้ เช่น หู ตา หัวใจ แขน ขา และสมอง
และในส่วนช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการฉีดวัคซีนทั้งหมดนี้ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการมีบุตร สามารถเตรียมฉีดได้เลยตั้งแต่ ‘ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือน’ หรือใครที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ให้ฉีด ‘หลังคลอด’ ทดแทนได้
คุณแม่มือใหม่ทุกคนเป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากได้เช็กกันไปแล้วกับตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ ทั้งระหว่างตั้งครรภ์ และวัคซีนที่ควรฉีดหลังจากคลอดล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นกับคุณแม่มือใหม่ทั้งนั้นเลยค่ะ ถือเป็นการย้ำเตือนกันอีกรอบว่ามีอะไรบ้าง และถ้าขาดต้องไปฉีดเพิ่มแบบไหน
พวกเราหวังว่าตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่มือใหม่ทุกคน คลายความกังวลไปได้บ้างนะคะ ถ้าได้รับวัคซีนคนท้องครบตามที่กำหนดไว้ ยังไงก็ปลอดภัยหายห่วงแน่นอน รวมถึงใครที่วางแผนจะมีลูกด้วยเช่นกัน ศึกษาตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์เอาไว้ก่อน ข้อมูลแน่น เอาอยู่กับทุกปัญหาค่ะ
[affegg id=4276]
Inspire Now ! : การฉีดวัคซีน เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันใช้กับร่างกาย ไม่ว่าจะวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เพื่อความปลอดภัย และจะได้ไม่เจ็บป่วย มีภูมิต้านทานโรค การเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่นั้นอาจสร้างความกังวลให้กับเหล่าคุณแม่ได้ แต่ในที่สุดแล้วทุกคนจะผ่านมันไปได้ค่ะ สิ่งสำคัญคือต้องดูแลตัวเอง ไม่เครียด เพราะจะเป็นผลเสียกับลูกน้อยในครรภ์ได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ อาหารบำรุงครรภ์ พักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบคุณหมอตามนัด เพื่อที่จะได้ตั้งครรภ์อย่างแข็งแรง
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ใช่ไหม่ ? ทุกคนได้ความรู้ดีๆ กันไปแล้วอย่าลืมแชร์ตารางวัคซีนหญิงตั้งครรภ์ให้คนที่คุณรักรู้และเข้าใจไปพร้อมกันด้วยนะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : gj.mahidol.ac.th, phyathai.com, cdc.gov
Featured Image Credit : pexels.com/Garon Piceli