รวม วิธีขจัดคราบบนเสื้อผ้า ด้วยตัวเอง เปื้อนอะไรก็ซักได้ ง่าย ประหยัดไม่ต้องทิ้ง !
รวม 10 วิธีขจัดคราบบนเสื้อผ้า เปื้อนมาแบบนี้ จะใช้วิธีไหนซักยังไงให้ออก พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมภาพรวมที่จะช่วยให้คุณดูแลผ้าเปื้อนมีคราบให้กลับมาสะอาดอีกครั้ง
ในโลกเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งๆ หลายคน และนักวิทยาศาสตร์ที่เรารู้จักกันส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชายใช่ไหมหล่ะคะ ? วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ผู้หญิงที่ชื่อ มารี คูรี (Marie Curie) กัน เธอเป็น นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เป็นผู้หญิงคนแรก เป็นชาวโปแลนด์ จากชีวิตวัยเด็กที่ใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่เธอใช้ชีวิตยังไง ถึงกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังระดับโลกได้ DIYINSPIRENOW จะพาไปทำความรู้จักหญิงเก่งคนนี้กันในบทความนี้ค่ะ
ในยุคที่วิทยาศาสตร์ถูกครอบงำโดยชายเป็นส่วนใหญ่ มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ก้าวขึ้นมาท้าทายข้อจำกัด และสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลก Marie Curie คือนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกที่ไม่เพียงแต่เปิดโลกใหม่แห่งความรู้ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังอีกด้วย เธอไม่เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าและความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์ เรื่องราวของเธอยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงทุกวันนี้ เรามาทำความรู้จักเรื่องราวของเธอให้มากขึ้นกันค่ะ
มารี คูรี เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางที่มีการศึกษาในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี 1867 ชื่อเดิมของเธอคือ มาเรีย สคลอดอฟสกา เธอเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 5 คน พ่อของเธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ส่วนแม่เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรี มารีในวัยเด็กนั้น มีความฉลาดเฉลียว และความกระหายใคร่รู้ เธอเริ่มเรียนที่โรงเรียนประจำตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเมื่ออายุเพียง 15 ปี เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ชีวิตวัยเด็กของเธอไม่ได้ราบรื่นนัก เธอต้องสูญเสียแม่และพี่สาวจากโรควัณโรคตั้งแต่ยังเล็ก เหตุการณ์นี้ทำให้เธอห่างเหินจากศาสนาและหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น นอกจากนี้ ครอบครัวของเธอยังต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงินและการเมือง เนื่องจากโปแลนด์ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย
แม้จะเจอกับอุปสรรค มารีก็ไม่ย่อท้อ เธอเริ่มทำงานเป็นครูสอนพิเศษตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อหาเงินช่วยเหลือครอบครัว และยังคงฝันที่จะได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัย แม้ว่าในขณะนั้นมหาวิทยาลัยในโปแลนด์จะไม่รับนักศึกษาหญิงก็ตาม มารี ย้ายไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส และที่ปารีส เธอพบกับ Pierre Curie และแต่งงานกัน ทั้งคู่ทำงานวิจัยด้วยกัน โดยศึกษาเรื่องกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในตอนนั้น พวกเขาค้นพบธาตุใหม่สองชนิดคือ โพโลเนียม และเรเดียม มารี ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในสาขาฟิสิกส์ร่วมกับสามี อีกครั้งคือสาขาเคมี ทำให้เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เธอพัฒนารถเอกซเรย์เคลื่อนที่เพื่อช่วยรักษาทหารบาดเจ็บ Marie ทำงานกับสารกัมมันตรังสีมาตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของเธอในระยะยาว ทำให้เธอเสียชีวิตในปี 1934 จากโรคที่เกิดจากการสัมผัสรังสี และแม้จะเผชิญอุปสรรคมากมาย เธอก็ไม่ย่อท้อ เธอกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์
Radium เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์เอิร์ทสีขาวเงิน มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Ra และเลขอะตอมคือ 88 ค้นพบโดย Marie และ Pierre Curie ในปี 1898 มีจุดหลอมเหลวที่ 700°C และจุดเดือดที่ 1,737°C Radium มีคุณสมบัติเรืองแสงและปล่อยรังสีแกมมา ไอโซโทปที่พบมากที่สุดคือ Radium-226 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 1,600 ปี ในอดีตเคยใช้ในการรักษามะเร็ง ผลิตสีเรืองแสง และนาฬิกาเรืองแสง แต่ปัจจุบันการใช้งานถูกจำกัดเนื่องจากอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี การสัมผัส Radium อาจทำให้เกิดมะเร็งกระดูก เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายใน
Polonium เป็นธาตุโลหะกึ่งโลหะสีเงินอมเทา มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Po และเลขอะตอมคือ 84 ค้นพบโดย Marie Curie ในปี 1898 และตั้งชื่อตามประเทศโปแลนด์ มีจุดหลอมเหลวที่ 254°C และจุดเดือดที่ 962°C Polonium เป็นธาตุที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงมาก ปล่อยรังสีแอลฟาที่เป็นอันตราย ไอโซโทปที่พบมากที่สุดคือ Polonium-210 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 138 วัน มันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ แต่สามารถผลิตได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Polonium ใช้ในการผลิตแหล่งกำเนิดนิวตรอนและในอุปกรณ์กำจัดไฟฟ้าสถิต การสัมผัส Polonium แม้ในปริมาณน้อยก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ทั้ง Radium และ Polonium มีบทบาทสำคัญในการศึกษาด้านกัมมันตภาพรังสีและฟิสิกส์นิวเคลียร์ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งเนื่องจากผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมค่ะ
เมื่อรู้กันคร่าวๆ แล้วว่า Marie Curie คือใคร เราจะชวนมาดูจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลของเธอกันค่ะ โดยเส้นทางในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ของ Marie นั้นเริ่มต้นจากการที่เธอได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Sorbonne ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้ Marie ค้นพบว่าเธอนั้นชอบวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เรียกได้ว่าการตัดสินใจไปเรียนมหาวิทยาที่นี่นั้นทำให้ Marie ได้ค้นพบตัวเองว่าชอบอะไรจนนำไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จค่ะ
Marie Curie แต่งงานกับ Pierre Curie ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ในปี 1895 หลังจากนั้นทั้งคู่ได้ทำงานเป็นนักวิจัยที่โรงเรียนเคมีและฟิสิกส์ ในปารีส โดยในขณะนั้น ศาสตราจารย์ Henri Becquerel ได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีใน Uranium ซึ่งเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ Marie สนในที่จะศึกษากัมมันตภาพรังสี เธอและสามีจึงได้ทำการศึกษากัมมันตภาพรังสีโดยการแยกองค์ประกอบต่างๆ จนในที่สุดก็ค้นพบธาตุใหม่ ซึ่งก็คือ polonium นั่นเอง โดยชื่อของ polonium นั้นมาจาก Poland ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของ Marie
หลังจากนั้นไม่นาน Marie และ Pierre ก็ได้ค้นพบธาตุใหม่อีก นั่นก็คือ Radium ซึ่งการค้นพบธาตุทั้งสองชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่ทำให้ Marie กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล โดย Marie และ Pierre ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ Henri Becquerel ในปี 1903 ที่สำคัญเลยก็คือ Marie เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เรียกได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงที่ไม่ธรรมดาเลยหล่ะค่ะ เพราะผู้คนในสมัยนั้นยังมีความคิดที่ว่าผู้ชายมีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แต่ Marie ก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าผู้หญิงเองก็มีความสามารถไม่ด้อยกว่าผู้ชายเลย
“ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว เพียงแค่ต้องเข้าใจมัน”
คำพูดนี้ของ Marie Curie ที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว เพียงแค่ต้องเข้าใจมัน” แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นคนที่เข้าใจโลกและพร้อมที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีความกลัว ซึ่งการคิดแบบนี้ก็สำคัญนะคะเพราะบางครั้งหากเรามัวแต่กลัวที่จะทำอะไรสักอย่างเราก็จะไม่ได้เริ่มทำอะไรสักที เพียงแค่เราลองเปิดใจให้กับสิ่งใหม่ๆ ทำความเข้าใจกับมัน ก็อาจทำให้เราได้ค้นพบมุมมองใหม่ๆ ในชีวิตก็ได้นะคะ
Marie สูญเสียสามีไปอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุ ในปี 1906 ซึ่งก็เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในอาชีพของเธอเลยหล่ะค่ะ เพราะเธอต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเพื่อทำงานวิทยาศาสตร์ที่เคยทำด้วยกันกับสามีทั้งหมดเพียงคนเดียว นอกจาก มารี คูรี จะเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลแล้ว เธอยังเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยด้วยนะคะ โดยหลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิตไปไม่นาน มารี ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สอนที่มหาวิทยาลัย Sorbonne แทนสามีของเธอ ซึ่งเธอก็ยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่สอนในมหาลัยนี้ด้วยค่ะ หลังจากนั้นในปี 1910 บทความเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีของเธอก็ได้ถูกตีพิมพ์และเธอก็ได้รับรางวัลโนเบลรางวัลที่สองในปี 1911 ในสาขาเคมีจากการแยกเรเดียมบริสุทธิ์
นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหญิงเก่งคนนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการของเครื่อง X-Ray อีกด้วย โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Marie ได้ทำงานเพื่อพัฒนาหน่วย X-Ray เคลื่อนที่ขนาดเล็กโดยเธอ ได้สร้างรถบรรทุก X-Ray เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรถให้ด้านในกลายเป็นห้อง X-Ray เรียกว่า Petits Curies (ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ) ที่สามารถใช้วินิจฉัยการบาดเจ็บของทหารบริเวณใกล้สนามรบทำให้ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อไป X-Ray ที่โรงพยาบาล หลังจากนั้น เธอก็ได้ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา Petits Curies ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่อง X-Ray ในปัจจุบันโดยมีประสิทธิภาพในการช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวในร่างกายได้ เช่น การสูบฉีดของหัวใจ
ตลอดชีวิตของ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลคนนี้นั้น เธอทุ่มเทให้กับการทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีอย่างหนักโดยที่เธอไม่รู้เลยว่ากัมมันตภาพรังสีนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพของเธออย่างไร ทำให้เธอไม่เคยสวมชุดป้องกันทั้งยังทำงานกับกัมมันตภาพรังสีด้วยมือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเก็บ Radium ไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานและในกระเป๋าเสื้อของเธออีกด้วย และผลจากการที่เธอสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสีอยู่แทบจะตลอดเวลานั้น ทำให้เธอป่วยอยู่บ่อยๆ จนเสียชีวิตในปี 1934 และถึงแม้ว่าเธอจะจากไปแล้ว แต่งานที่เธอทุ่มเทมาทั้งชีวิตกับสิ่งที่เธอได้ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์กับโลกนี้อย่างมากเลยค่ะ
“ฉันถูกสอนมาว่าหนทางแห่งความก้าวหน้านั้นไม่ได้รวดเร็วและง่ายดาย”
Marie เคยพูดไว้ว่า “ฉันถูกสอนมาว่าหนทางแห่งความก้าวหน้านั้นไม่ได้รวดเร็วและง่ายดาย” ซึ่งคำพูดนี้ก็ทำให้มาย้อนคิดนะคะว่า การที่เราทำอะไรไม่สำเร็จนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะล้มเหลวไปตลอด เพียงแค่เราไม่ท้อแล้วสักวันความสำเร็จจะเป็นของเราค่ะ
เรียกได้ว่า มารี คูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลผู้อุทิศตนเพื่อสังคมเลยหล่ะค่ะ การค้นพบธาตุ Radium ของเธอนั้นมีประโยชน์ในด้านการแพทย์อย่างมาก เพราะทางการแพทย์นั้นได้มีการใช้ Radium เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยการใช้รังสีของ Radium ในปริมาณสูงนั้น สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ เรียกได้ว่าการค้นพบของผู้หญิงเก่งคนนี้ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนได้มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิม ถือได้ว่าเธอเป็นบุคคลที่น่ายกย่องจริงๆ ค่ะ
เรื่องราวของ Marie Curie นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลคนนี้ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนที่หมดกำลังใจในการใช้ชีวิตได้อย่างมากเลยใช่มั้ยหล่ะคะ ตลอดชีวิตของเธอนั้น ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือผู้อื่น เรียกได้ว่าเธอคือ นางฟ้าแห่งวงการวิทยาศาสตร์เลยจริงๆ ค่ะ สิ่งที่มารีทำนั้น ก็ทำให้คิดได้ว่าบางครั้งการศึกษาในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจก็สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างมากมายเลยค่ะ
หลังจากได้รู้เรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งประสบความสำเร็จของ มารี คูรี แล้ว เราก็อยากนำเสนอคำพูดที่แสดงถึงความเชื่อของ Marie Curie กันค่ะ มาดูกันสักหน่อยมั้ยคะ ว่ามีอะไรบ้าง 🙂
คำพูดนี้สะท้อนถึงทัศนคติของเธอที่มองว่า ความรู้และความเข้าใจสามารถเอาชนะความกลัวได้ เธอส่งเสริมให้เราเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่รู้ด้วยความอยากรู้อยากเห็นแทนความกลัว
คำพูดนี้แสดงถึงมุมมองที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เธอเชื่อว่าเราควรมองไปข้างหน้าและคิดถึงสิ่งที่ยังต้องทำ แทนที่จะพอใจกับความสำเร็จในอดีต
คำพูดนี้สะท้อนถึงความเข้าใจของเธอที่ว่า การทำงานทางวิทยาศาสตร์และการค้นพบใหม่ๆ ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก เธอเตือนให้เราอดทนและมุ่งมั่นในการทำงาน
คำพูดนี้แสดงถึงความเชื่อของมารีที่ว่า เราควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความคิดและความรู้มากกว่าการสนใจเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เธอส่งเสริมให้เรามุ่งเน้นที่การเรียนรู้และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์
Marie Curie เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ค้นพบธาตุ Radium และ Polonium และเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาด้านกัมมันตภาพรังสี เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองสาขา ผลงานของเธอปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้เกิดการพัฒนาในการรักษามะเร็งและเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ ชีวิตและผลงานของ มารี คูรี ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไปจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพลังของความมุ่งมั่น ความอยากรู้อยากเห็น และการอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการนั่นเองค่ะ
Inspire Now ! : เมื่อได้รู้กันแล้วว่ามารี คูรี คือใคร พร้อมกับเรื่องราวในชีวิตของเธอที่แสนจะน่าทึ่ง จากเด็กผู้หญิงธรรมดากลายมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง ก็คงจะทำให้หลายคนมีแรงบันดาลในการลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างใช่ไหมคะ ? สิ่งสำคัญเลยก็คือการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมนะคะ เช่นเดียวกับ Marie Curie ที่สามารถทำงานหลายๆ อย่างให้ออกมาดีได้ก็คงเป็นเพราะมีการจัดสรรเวลาที่ดีนั่นเองค่ะ |
---|
DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าหรือเปล่า ? ทุกคนมีวิธีพัฒนาตัวเองยังไงบ้างคะ ? อ่านหนังสือข้อคิดดีๆ เพื่อเป็นพลังในการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น หรือดูหนังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือมีวิธีพัฒนาตัวเองอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mariecurie.org, britannica.com, verywellhealth.com
Feature Image Credit : nobelprize.org
รวม 10 วิธีขจัดคราบบนเสื้อผ้า เปื้อนมาแบบนี้ จะใช้วิธีไหนซักยังไงให้ออก พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติมภาพรวมที่จะช่วยให้คุณดูแลผ้าเปื้อนมีคราบให้กลับมาสะอาดอีกครั้ง
ชวนรักษ์โลกด้วยการลดซื้อสินค้า ฟาสต์ แฟชั่น แล้วถ้าเป็นสายแฟ จะมีวิธีปรับตัวยังไง เปลี่ยนไปใช้อะไรได้บ้าง มาร่วมมือกันสร้างสิ่งแวดล้อมดีๆ ให้โลกของเรากัน
ชวนใจฟูด้วย เพลงความหมายดีๆ สากล และไทย ฟังแล้วผ่อนคลาย ได้แรงใจ พลังบวก ไม่ว่าคุณจะมี bad day ที่หนักขนาดไหน ลองผ่อนใจด้วยการฟังเพลงดู