ชวนรู้มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่าง กับเทคนิคการจำแบบง่ายๆ พร้อมนำไปใช้ !
2K
ชวนรู้มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่าง กับเทคนิคการจำแบบง่ายๆ พร้อมนำไปใช้ !
เราทุกคนเคยผ่านการเรียนมาในโรงเรียน และรู้จักกันดีว่าในภาษาไทยนั้นมีพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัว สระ 32 ตัว วรรณยุกต์ 4 รูป และตัวสะกด 9 มาตรา ที่สามารถนำมาผสมจนเกิดเป็นคำต่างๆ ในภาษาไทยนั่นเอง สำหรับตัวอักษรและสระนั้นสามารถจดจำได้ง่าย แต่สำหรับมาตราตัวสะกดอาจจะพาสับสนในการใช้ เพราะฉะนั้น นอกจากเราจะเรียนรู้เรื่องวิทย์สนุกรอบตัวแล้ว เราจะมาเรียนรู้ถึงหลักและวิธีง่ายๆ ในการจำ มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่าง รวมถึงมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรานั้นจะมีอะไรบ้าง ใครที่อยากรู้ตามมาดูกันเลยค่ะ
มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่าง จำอย่างไรให้ง่าย มาดูกัน
มาตราตัวสะกดคือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา และมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ซึ่งการที่เราเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ให้ถูกต้องนั้น จะทำให้เขียนและอ่านคำได้อย่างถูกต้อง เรามารู้จักมาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่างกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง
มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่างง่ายๆ นั้น สามารถแบ่งออกเป็น
- มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด
- มาตราตัวสะกด จะมีทั้งหมด 8 แม่ ที่สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- มาตราตัวสะกดตรงตามมาตรา โดยใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา คือ แม่กง แม่กม แม่เกย แม่เกอว
- มาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนกัน มี 4 มาตรา คือ แม่กก แม่กด แม่กน แม่กบ
ซึ่งรายละเอียดและเทคนิคการจำมาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่าง มีดังนี้
- แม่ ก กา
คำในแม่ ก กา นั้นเป็นคำที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกดไม่ว่าจะท้ายคำ หรือท้ายพยางค์ สามารถอ่านออกเสียงสระโดยไม่มีเสียงพยัญชนะ ตัวอย่างเช่น ไป มา กติกา เงอะงะ ปรานี มือ เสือ หญ้าคา เป็นต้น
- แม่กง
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กง จะใช้ ง สะกด และอ่านออกเสียง ง ตัวอย่างเช่น โขลง มะโรง คล้องจอง จองหอง คูปอง ตาราง ฉิ่ง สำเนียง สมิง กระดิ่ง เป็นต้น
- แม่กม
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กม จะใช้ ม สะกด และอ่านออกเสียง ม ตัวอย่างเช่น กรรม กระหม่อม จริยธรรม พฤติกรรม ชมรม ลูกอม ถล่ม ทะนุถนอม แยม ข้างแรม เป็นต้น
- แม่เกย
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกย จะใช้ ย สะกด และอ่านออกเสียง ย ตัวอย่างเช่น เลย เสวย เนย สาหร่าย จับฉ่าย มลาย ชีวาลัย ทราย นโนบาย เปรียบเปรย วินัย เป็นต้น
แม่เกอว
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เกอว จะใช้ ว สะกด และอ่านออกเสียง ว ตัวอย่างเช่น วิว ปลิว หิวข้าว อ่าว ก๋วยเตี๋ยว จิ๋ว ต้นงิ้ว ทาวน์เฮ้าส์ ยั่ว เป็นต้น
- แม่กก
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กก จะใช้ ก สะกด และอ่านออกเสียง ก ตัวอย่างเช่น โขก บุก มรดก กระบอก หญ้าแพรก ตรอก เงือก สมาชิก เอกลักษณ์ เป็นต้น และด้วยเพราะแม่กกเป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จึงสามารถใช้ ข ค ฆ สะกดได้อีกด้วย เช่น เลข วิหค เมฆ เป็นต้น
- แม่กด
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กด จะใช้ ด สะกด และอ่านออกเสียง ด ตัวอย่างเช่น กะทัดรัด อด ขนาด สลัด ลานวัด ดอกพุด หวุดหวิด หูฝาด ตลาด เป็นต้น และแม่กดเป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จึงสามารถใช้ จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกดได้อีกด้วย เช่น ตรวจ บงกช ก๊าซ กฎหมาย ปรากฏ ประเสริฐ ครุฑ วัฒนา เปรต สบถ บทบาท โกรธ เลิศ กระดาษ รส เป็นต้น
- แม่กน
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กน จะใช้ น สะกด และอ่านออกเสียง น ตัวอย่างเช่น จาน ขวาน กระตือรือร้น ดูหมิ่น โต๊ะจีน กินคลีน ประสาน ไหว้วาน เป็นต้น และแม่กนเป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จึงสามารถใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกดได้อีกด้วย เช่น วิญญาณ วานร น้ำตาล พระกาฬ เป็นต้น
- แม่กบ
พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่กบ จะใช้ บ สะกด และอ่านออกเสียง บ ตัวอย่างเช่น ตะขบ ทะเลสาบ เว็บไซต์ สายลับ ประดับ จับ ปรับ ประทับ ระเบียบ เป็นต้น และแม่กบก็เป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราเช่นกัน จึงสามารถใช้ ป ภ พ ฟ สะกดได้อีกด้วย เช่น บาป ลาภ พิภพ กราฟ เป็นต้น
มาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่างดังกล่าวนั้น สามารถจำไปใช้ได้ไม่ยาก เพียงจำว่าแม่อะไร ก็ใช้ตัวท้ายนั้นเป็นตัวสะกดนั่นเอง ในขณะที่แม่ ก กา จะไม่มีตัวสะกดเพียงแม่เดียว และนอกจากมาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่างแล้ว ยังมีตัวสะกดที่เป็นรูปพยัญชนะประสมอีกด้วยนะคะ คือ ตัวสะกดจะใช้รูปพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน แต่อ่านออกเสียงตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ตัวอย่างเช่น โคตร สูตร จักร กอปร เป็นต้น
Inspire Now ! : การเรียนเรื่องพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดในภาษาไทยนั้น นอกจากการจดจำแล้ว การนำไปใช้ก็จะช่วยให้เราจำได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วย นอกจากมาตราตัวสะกด 9 แม่ พร้อมตัวอย่างที่เรายกตัวอย่างไปนั้น ยังสามารถลองฝึกผสมคำจากคำต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือใช้ชื่อดาวต่างๆ ในจักรวาลมาฝึกสะกดก็ได้ หากเรารู้หลักการต่างๆ นี้แล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้ได้ไม่ยาก และสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตเลยหล่ะค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? ภาษาไทยแม้จะเป็นภาษาแม่ที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็มีรายละเอียดมากมายที่หลายคนอาจหลงลืมไปบ้างแล้ว ลองมาฝึกฝนและทำความเข้าใจกันใหม่ เพื่อจะได้ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องกันนะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : dltv.ac.th, pangpond.com
Facebook Comments