Mary Anning นักธรณีวิทยา ผู้จุดประกายความสำคัญของฟอสซิล

ถ้าหากจะถามถึงผู้คิดค้นบางสิ่งขึ้นเป็นคนแรกหรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง หลายคนคงนึกชื่อขึ้นมาได้ไม่ยากแต่ นักธรณีวิทยา ที่มีชื่อเสียงนั้นน้อยคนนักที่จะรู้ว่าหนึ่งในนั้นเป็นหญิงสาวคนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ที่เมืองไลม์ รีจิส ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ รู้จักกันในนาม Mary Anning ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านบรรพชีวินวิทยาและเป็นนักสะสมซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก แต่ก่อนที่เธอจะได้รับการกล่าวขานว่าเป็น นักธรณีวิทยา ที่เป็นผู้หญิงเก่งคนหนึ่งนั้น เธอผ่านอะไรมาบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องราวของเธอกันเลยค่ะ

Mary Anning นักธรณีวิทยา ผู้ค้นพบและทำให้เห็นถึงความสำคัญของฟอสซิล

Mary Anning คือใคร, นักธรณีวิทยา

Image Credit: lovelymeregis.co.uk

Mary Anning คือใคร ? ก่อนที่เธอจะเป็นที่รู้จัก แมรี แอนนิง เป็นลูกสาวของครอบครัว Anning ที่มีสมาชิกภายในครอบครัวถึง 10 คน พ่อของเธอเคยเป็นช่างทำตู้และนักสะสมซากดึกดำบรรพ์มาก่อน เนื่องด้วยพื้นที่อาศัยของครอบครัวเป็นชายฝั่งและขอบผาซะส่วนใหญ่ ในปัจจุบันหลายคนจะรู้จักกันในนามชายฝั่งจูราสสิก เพราะเต็มไปด้วยซากฟอสซิลสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ ที่มีอายุกว่า 200 ล้านปี ในปี 1810 พ่อของแอนนิงได้เสียชีวิตลง เมื่อเสาหลักของครอบครัวจากไป จึงทำให้ครอบครัวเกิดหนี้สินขึ้น แต่พ่อของแอนนิงไม่ได้จากไปเปล่าเพราะเขาได้ถ่ายทอดทักษะการหาฟอสซิลให้ภรรยาและลูกๆ ของเขาด้วย ครอบครัวของแอนนิงมีเงินไม่มาก แอนนิงและพี่ชายจึงมักจะหาซากฟอสซิลหรือของตามชายหาดเล็กๆ น้อยๆ ไปขาย

ในปี 1820 เมื่อนักเชี่ยวชาญด้านฟอสซิล นาวาตรี โทมัส บริช (Lt.-Col. Thomas Birch) ได้รู้จักกับครอบครัวของแอนนิงผ่านทางแม่ซึ่งได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสะสมฟอสซิล รู้สึกเห็นใจกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงขอซื้อฟอสซิลทั้งหมดที่ครอบครัวสะสมไว้และเขายังวิเคราะห์อีกว่าฟอสซิลที่สะสมไว้ยังอยู่ในลักษณะที่ดี เป็นที่ยอมรับทางด้านวิทยาศาสตร์ เมื่อแอนนิง อายุได้ 12 ปี เธอและพี่ชายค้นพบกะโหลกของสิ่งมีชีวิตลึกลับโบราณที่โผล่พ้นออกมาจากขอบผา ทั้งคู่คิดว่า อาจจะเป็นชิ้นส่วนของจระเข้ แต่สิ่งที่ค้นพบนั้นจริงๆ แล้วเป็นสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่มีชื่อว่า Ichthyosaur (ซึ่งหมายถึง ปลาจิ้งจก)  ต่อมาแอนนิงก็ได้เริ่มสร้างผลงานของเธอและศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคของซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ได้ค้นพบและสานต่อธุรกิจของครอบครัวด้วย ขณะเดียวกันกับที่พี่ชายได้ทำอาชีพเกี่ยวกับเครื่องผ้าและหนัง

Mary Anning คือใคร

ปลาจิ้งจก (Ichthyosaur)  Image Credit: britannica.com

แอนนิงอุทิศตนและได้ใช้ทักษะต่างๆ ในการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ต่อไปเหมือนเป็น นักธรณีวิทยา คนหนึ่ง ต่อมาฟอสซิลทั้งหมดที่หามาได้ถูกนำเข้าแสดงในพิพิธภัณฑ์และเก็บไว้ที่นักวิทยาศาสตร์ด้วยส่วนหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้นแอนนิงยังได้รับรางวัลโนเบลจากทางฝั่งยุโรปอีกด้วย มีนักสะสมอีกมากมายที่ชื่นชอบและสนใจในฟอสซิลที่เธอค้นพบ นอกจากเธอจะค้นพบ Ichthyosaur แล้ว เธอยังค้นพบสิ่งอัศจรรย์อีกชนิดหนึ่งนั่นก็คือ สัตว์เลื้อยคลานคอยาวที่อาศัยอยู่ในทะเลที่มีชื่อว่า Plesiosaur และสัตว์เลื้อยคลานบินได้ ที่มีชื่อว่า Dimorphodon 

Mary Anning คือใคร

สัตว์เลื้อยคลานคอยาว (Plesiosaur) Image Credit: thoughtco.com

Mary Anning คือใคร

สัตว์เลื้อยคลานบินได้ (Dimorphodon) Image Credit: thoughtco.com

Mary Anning คือใคร ? ครั้งหนึ่งได้มีนักกายวิภาคศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อดัง จอร์จส์ คูวิเยร์ (Georges Cuvier) มีความสงสัยจึงได้ตรวจสอบรายละเอียดจากรูปวาดที่แอนนิงวาด และเขาตระหนักได้ว่าเป็นการค้นพบที่ฉลาดมาก แมรี แอนนิงได้กลายมาเป็นนักสะสมฟอสซิลที่ถูกต้องตามกฏหมายและนักธรณีวิทยาที่น่ายกย่องคนหนึ่งในสายตาของสมาคมนักวิทยาศาสตร์ ทั้งๆ ที่มีการยอมรับแต่การค้นพบของแอนนิง ที่เหล่าฟอสซิลยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์และที่ถูกสะสมโดยนักสะสมฟอสซิลเป็นการส่วนตัวนั้น ยังไม่ได้ให้เครดิตกับเธอว่าเป็นผู้ค้นพบ เวลาผ่านไปแอนนิงและครอบครัวได้ถูกลืมโดยเหล่าสมาคมนักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยาคนอื่นๆ เนื่องมาจากการขาดเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทักษะพิเศษของเธอ นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนยังคงไม่เชื่อเกี่ยวกับผลงานและทักษะความสามารถของเธอในฐานะนักธรณีวิทยาและนักบรรพชิวินวิทยา ที่เป็นสถานะทางสังคมของเธอในตอนนั้น

ในปี 1824 Lady Harriet Sivester ได้บันทึกในไดอารี่หลังจากไปเยี่ยมแมรี แอนนิง ว่า “ สิ่งที่พิเศษในตัวเด็กสาวผู้นี้คือหล่อนพยายามด้วยตัวหล่อนเองในการพยายามที่จะศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่หล่อนค้นพบ หล่อนรู้ว่าโครงกระดูกชิ้นนั้นๆ อยู่ในวงศ์ไหน ตระกูลใด หล่อนมักจะสลักกระดูกลงในกรอบซีเมนต์ และเริ่มวาดรูปลักษณะของมันไว้ มันเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์มากเกี่ยวกับความชื่นชอบของหล่อน ระดับความรู้ของหล่อนสามารถที่จะเขียนและคุยกับศาสตราจารย์หรือบุคคลอื่นที่ฉลาด ที่จะสามารถถกเถียงในหัวข้อนี้ได้ และจริงๆ แล้วพวกเขาก็ทราบดีว่าหล่อนเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์ได้ดีกว่าใครๆ ในอาณาจักรนี้” คำยกย่องของ Lady Sivester ที่เขียนในบันทึก มีข้อความหนึ่ง ที่เขียนไว้ประมาณว่า “แอนนิงเป็นความโปรดปรานของพระเจ้า” ซึ่งเป็นการอธิบายได้ว่า จะเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะมีความรู้ได้มากขนาดนี้ คล้ายกับเธอได้รับพรจากพระเจ้าอย่างไรก็ตาม แอนนิงไม่ได้เป็นเพียงนักสะสมซากดึกดำบรรพ์หรือนักธรณีวิทยาธรรมดาๆ เท่านั้น แต่เธอยังมีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เธอค้นพบและเธอยังได้รับความนับถือจากนักวิทยาศาสตร์หลายๆ คน ในช่วงเวลานั้นอีกด้วย

หลังการเสียชีวิตของแอนนิงในปี 1847 ผู้ถูกลืมมานานหลายปีนั้น ได้ถูกจดจำในฐานะนักค้นพบฟอสซิลที่ดีที่สุดที่เคยมีมา เพราะการค้นพบของเธอ ทำให้ผู้คนเริ่มเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของความรู้เกี่ยวกับอดีตของโลกที่ผ่านมาและประวัติเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในอดีตอีกด้วย

คงจะได้คำตอบไปไม่มากก็น้อยแล้วใช่มั้ยคะว่า Mary Anning คือใคร เพราะนอกจากเราจะรู้ว่าเธอเป็นนักธรณีวิทยา, นักบรรพชีวินวิทยาและนักสะสมซากดึกดำบรรพ์ที่เก่งแล้ว เรายังได้รู้อีกว่าเธอเป็นคนหนึ่งที่ไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาและยังมีความใฝ่รู้ ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจให้มากที่สุด ซึ่งพอได้ศึกษาประวัติของเธอก็ทำให้เราต้องกลับมามองเห็นคุณค่าในตัวเองดูบ้าง ขอแค่มีความเพียร ใฝ่รู้และตั้งใจลงมือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจให้ดีที่สุด เท่านี้ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วหล่ะค่ะ

Inspire Now ! : สิ่งที่ Mary Anning ค้นพบ เป็นอะไรที่ทำให้เราได้รู้จักโลกมากขึ้น แต่สิ่งที่เราได้ค้นพบจากการอ่านประวัติของเธอ คือความตั้งใจ ขยัน และใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมต่อสิ่งที่เธอสนใจ ซึ่งสามารถต่อยอดความคิดของเราไปอีกได้ว่าจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นต้องทำยังไงได้อีกด้วยค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่า ใช่หรือเปล่า ? เพื่อนๆ ได้ข้อคิดจากประวัติของ Mary Anning กันว่ายังไงบ้าง ? ลองมาแลกเปลี่ยน  มาพูดคุยกันได้นะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : lovelymeregis.co.uk, ucmp.berkeley.edu, bbc.co.uk,

Facebook Comments

ชอบกิน รักธรรมชาติ มีความสุขทุกครั้งที่ได้จับกล้องและออกเดินทาง