ผู้บริหารหญิงคนต่อมาคือ Mary Barra CEO บริษัท General Motors ซึ่ง Barra เป็นผู้หญิงคนแรกที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศอเมริกา และยังเป็นบริษัทระดับโลกอีกด้วย ทั้งนี้ Mary Barra ถูกนับว่าเป็น CEO หญิงคนแรกในประวัติศาตร์ของบริษัท General Motors บริษัติผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ถ้าเป็นคนไทยก็คงคุ้นเคยกันดีในยี่ห้อ เชฟโรเลต ทั้งนี้ บริษัทเองก็ถือหุ้นอีซูซุและซูซูกิของประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
Berra เข้ารับตำแหน่งนี้ในปี 2014 โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างโลกที่ไม่มีอุบัติเหตุ ไม่สร้างมลภาวะ และไม่มีการจราจรที่แออัด เธอจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ General Motors Institute (Kettering University) และศึกษาต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่ Stanford University แค่ประวัติการศึกษานั้นก็การันตีถึงความสามารถและความเก่งได้แล้ว สำหรับการทำงานที่บริษัท GM นั้น เธอเริ่มต้นจากเด็กฝึกงาน ทำงานในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิศวกรรมและฝ่ายปฏิบัติการ ไปจนถึงฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดซื้อ จัดชิ้นส่วนการผลิต บริหารทั้งคน งบประมาณ ไปจนถึงการออกแบบรถยนต์ และการขึ้นเป็น CEO ของ Berra ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับบริษัท ทั้งช่วยให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น หุ้นเติบโตมากขึ้น ศาสตราจารย์ Mohammed torfeh ผู้ที่เคยสอน Berra ในระดับปริญญาตรีกล่าวว่า เธอเป็นคนฉลาดและมีความเป็นผู้นำสูง มีความรู้ ความสามารถ และมีการสื่อสารที่เป็นเลิศ แม้วงการอุตสาหกรรมรถยนต์จะมีผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยความตั้งใจและความสามารถอย่างไม่มีข้อกังขาของ Mary Barra ทำให้เธอก้าวมายืนในจุดนี้ได้นั่นเองค่ะ
3. Jane Fraser
Jane Fraser เป็น CEO หญิงคนแรกของสถาบันการเงินเครือ Citigroup บริษัท Citigroup เป็นสถาบันการเงินระดับโกลบอลที่มีธุรกิจอยู่ใน 160 ประเทศทั่วโลก โดย Jane Fraser ได้เข้ารับตำแหน่ง CEO ขึ้นแท่นผู้บริหารหญิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ที่ผ่านมา ด้วยวัย 53 ปี และยังเป็นผู้หญิงคนเดียวในบรรดา CEO ของกลุ่มสถาบันการเงินในวอลล์สตรีทด้วย การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของเจน ถือเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของวอลล์สตรีท ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ของผู้ชายเท่านั้น ทั้งนี้ จำนวน CEO หญิงในกลุ่มบริษัทตลาดหุ้น S&P 500 ของสหรัฐฯ ปัจจุบันมีไม่ถึง 10% แต่แนวโน้มที่ผู้หญิงจะขึ้นแท่นผู้บริหารในสถาบันการเงินก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีในวงการสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่ว่ากันว่า ตำแหน่งผู้บริหารสุงสุดจะตกเป็นของผู้ชายเสมอ แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป และเปิดโอกาสให้กับผู้หญิงมากขึ้น
Jane Fraser ทำงานร่วมกับ Citigroup มา 16 ปี เริ่มเป็นที่จับตามองจากการเป็นแกนนำฝ่าวิกฤตการเงินในปี 2007 – 2009 และในปี 2015 ก็ได้ขึ้นแท่นเป็นผู้บริหารแถบอเมริกาใต้ทั้ง 24 ประเทศ ซึ่งบทบาทนี้ ทำให้เจนติด 1 ใน 50 สตรีผู้ทรงอิทธิพลในแวดวงธุรกิจของเว็บไซต์ Fortune ส่วนเว็บไซต์ American Banker ก็ยกให้เจนเป็นสุดยอดผู้บริหารหญิงในวงการธนาคารสหรัฐฯ ถึงสองปีซ้อน ก่อนจะเข้ามารับตำแหน่ง CEO เจนเป็นผู้บริหารฝ่าย Consumer and Commercial Banking ในเครือ Citigroup ทั่วโลก ทั้งนี้ John Dugan ประธานบอร์ดบริหารของ Citigroup เล็งเห็นว่า Jane Fraser คือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีความรู้ความเข้าใจในแวดวงการเงินเป็นอย่างดี และอยู่กับ Citigroup มานาน จึงเชื่อมั่นว่าเจนจะพาบริษัทเติบโตและก้าวหน้าไปอีกขึ้น
Sonia Syngal เป็นประธานบริษัทและ CEO ของ Gap ธุรกิจขายเสื้อผ้าที่เป็นบริษัทระดับโลก Sonia เกิดที่ประเทศอินเดีย และได้ย้ายไปอยู่แคนาดา จากนั้นก็มาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เธอเป็นหนึ่งใน CEO หญิงของบริษัทในเครือ Forture 500 ที่มีอยู่ไม่กี่คน และยังเป็นผู้บริหารหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียที่มีตำแหน่งสูงสุดอีกด้วย ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่ง CEO ของ Gap นั้น เธอเคยเป็นประธานบริษัท Old Navy บริษัทลูกของ Gap และพาให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ โดยทำให้ Old Navy มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 33,380 ล้านบาทภายในเวลา 3 ปี เมื่อดำรงตำแห่ง CEO ของ Gap ก็ทำการขยายสาขาถึง 1,200 สาขาในอเมริกาเหนือ
เธอมีคติการทำงานโดยยึดเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มโปรแกรม PACE (Personal Advancement and Career Enhancement) ของ Gap ที่เปิดสอนชั้นเรียนทักษะชีวิตแก่พนักงานตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีอีกด้วย นอกจากจะโดดเด่นในด้านการบริหารงานโดยการนำพาบริษัทประสบความสำเร็จและมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว เธอยังให้ความสำคัญกับสวัสดิการพนักงาน รวมถึงใส่ใจการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นฟันเฟืองหลักในการนำพาให้องค์กรก้าวหน้า ทำให้ Gap เป็นบริษัทขายเสื้อผ้าที่ประสบความสำเร็จทั้งในอเมริกาและทั่วโลก ท่ามกลางคู่แข่งมากมาย
10. Susan Wojcicki
ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอ ก็ต้องนึกถึง YouTube และผู้บริหารเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานหลักพันล้านคนนี้ เป็นผู้หญิงค่ะ เธอคือ Susan Wojcicki CEO ของ YouTube แพลตฟอร์มคลิปวิดีโอที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก นอกจากจะเป็น CEO ของยูทูปแล้ว ซูซานยังเป็นบุคคลสำคัญในการก่อตั้งบริษัทระดับโลกอย่างกูเกิลด้วย เพราะสำนักงานแห่งแรกสุดของกูเกิลก็คือบ้านของเธอนั่นเอง (ผู้ก่อตั้งกูเกิล Larry Page และ Sergey Brin เช่าโรงรถของซูซานเพื่อทำเป็นออฟฟิศ) ซูซานถูกชักชวนจากผู้ก่อตั้งกูเกิลให้มาทำงานด้วยกัน และมีบทบาทสำคัญมากในช่วงก่อตั้งกูเกิล เพราะเธอเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารไฟแรง โดยช่วงแรกๆ ทำงานด้านการตลาดให้กับกูเกิล จากนั้นก็มารับผิดชอบในฝ่ายงานด้านโฆษณา ก่อนจะถูกเลื่อนขั้นมาเป็น CEO ของยูทูป ในฐานะผู้บริหารบริษัทลูกของกูเกิลนั่นเอง