ปฏิเสธสัมภาษณ์งาน อย่างไร ? ให้ยังดูเป็นมืออาชีพ และเปิดโอกาสไว้สำหรับงานที่ใช่กว่าในอนาคต !
ชวนดูคำแนะนำการ ปฏิเสธสัมภาษณ์งาน เมื่อเจองานที่ยังไม่ใช่ พร้อมตัวอย่างเข้าใจง่าย และทิปส์สำหรับคนอยากสัมภาษณ์งานแล้วได้งาน
ช่วงหลังๆ มานี้ เราได้ยินคำว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายๆ คนเกิดความรู้สึกเบื่องาน เหนื่อยหน่ายการทำงานของตัวเอง ไม่อยากตื่นไปทำงานทุกวัน ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน อาจเป็นเพราะทำงานหนักมากเกินไป หรือเนื้องานเป็นงานซ้ำๆ เดิมๆ ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ขาดแรงบันดาลใจ และนำไปสู่การลาออกในที่สุด แต่รู้ไหมคะว่า การเบื่องานนั้นก็มีอยู่หลายระดับ บางคนอาจจะไม่ถึงขั้น Burnout แต่อยู่ในภาวะเบื่องานที่เรียกว่า Boreout หรืออาจอยู่ในภาวะ Brownout ไปเลยก็ได้ แล้ว 3 สิ่งนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร Boreout – Brownout – Burnout คือ อะไร จะแก้ได้ยังไง มาทำความเข้าใจให้มากขึ้นกันเลยค่ะ
เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า Burnout มากที่สุด ในทางจิตวิทยาแล้ว จะเรียกเต็มๆ ว่า Burnout Syndrome คือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก เป็นโรคที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือเกิดโรคที่เกิดจากความเครียดอื่นๆ ตามมาได้ โดยจะแบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
ถ้าใครมีอาการดังกล่าวมากกว่า 8 ข้อขึ้นไป เป็นไปได้ว่า กำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ก็ได้นะคะ
ภาวะหมดไฟในการทำงาน อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราต้องทำงานที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัด หรือมีภาระงานมากเกินไปจนทำไม่ไหว จำนวนงาน Overload บางคนถูกขอร้องให้ช่วยทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากหน้าที่ของตัวเองและไม่รู้วิธีปฏิเสธ หรือต้องทำงานที่ยากภายในเวลาที่จำกัด ทำให้เกิดความเครียดและมีความกดดัน บางคนอาจจะต้องทำงานที่ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ต้องทำตามคำสั่งทำให้รู้สึกอึดอัด รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน บางคนอาจไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ไม่ได้รับความยุติธรรมในที่ทำงาน รู้สึกว่าได้ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับความทุ่มเทในงาน หรืองานที่ทำไม่ได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ไม่รู้สึกว่างานที่ทำอยู่มีคุณค่าหรือมี Value กับตัวเอง สิ่งที่ทำให้เรามีภาวะ Burnout คือ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นั่นเองค่ะ
ตอนนี้ก็ได้รู้แล้วว่า การหมดไฟในงาน หรือ Burnout คืออะไร แล้ว Boreout คืออะไร ? แตกต่างจากการหมดไฟอย่างไร แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นอาการเบื่องาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่รู้สึกไม่ท้าทาย เนื้องานไม่มีความน่าสนใจเพียงพอ หรือมีปริมาณงานน้อยเกินไป ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแตกต่างจากภาวะ Burnout คือการที่มีปริมาณงานมากเกินไปหรือทำงานหนักจนเกินไป จนเกิดความรู้สึกหมดไฟ หมดแรงจูงใจในการทำงานนั่นเองค่ะ
ได้รู้ความหมายของ Boreout และ ฺBurnout กันไปแล้ว มาถึง Brownout กันบ้างค่ะ ถ้าพูดง่ายๆ Brownout คือ รู้สึกหมดใจในงานที่ทำอยู่ เชื่อมั้ยคะว่า Brownout Syndrome คือภาวะที่รุนแรงมากที่สุด และก่อให้เกิดอัตราการลาออกมากที่สุด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า Brownout Syndrome เป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อีกด้วย คนที่อยู่ในภาวะ Brownout คือคนที่ยังมีไฟในการทำงานอยู่ รู้สึกรักและชอบในเนื้องานนั้นๆ แต่มีสาเหตุอื่นๆ นอกเหนือจากเนื้องานที่ทำให้รู้สึกอยากลาออกจากงาน เพื่อไปหาองค์กรใหม่หรือทางเลือกใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์มากกว่า
สำหรับสาเหตุที่หลักๆ ที่ทำให้เกิด Brownout Syndrome คือ พนักงานถูกคาดหวังจากหัวหน้างานสูง หรือถูกคาดหวังจากองค์กร และได้รับความกดดันจากความคาดหวังดังกล่าว ก่อให้เกิดความเครียดและขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรืองานนั้นๆ ทำไปแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากที่ทำงาน จึงไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร อาจเกิดจากการที่องค์กรไม่มีทิศทางในการทำงานที่แน่นอน หรือมีกฎระเบียบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งมีความไม่เท่าเทียมกันในการทำงาน หรือไม่มีความยุติธรรม ต้องทำงานแม้ในวันหยุด ได้รับค่าตอบแทนที่ไม่สอดคล้องกับความทุ่มเทในงาน หรือไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานรู้สึกหมดใจในการทำงานกับองค์กรนั้นๆ นั่นเองค่ะ
ตอนนี้ก็ได้รู้ความหมายของ Burnout – Boreout – Brownout กันไปแล้ว พอจะเห็นภาพแล้วใช่มั้ยคะว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 3 ภาวะนี้ ก่อให้เกิดการลาออกจากงานด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ Brownout Syndrome และ Burnout Syndrome คือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานได้ด้วย เพราะทำให้พนักงานเกิดความเครียดสะสม ทำให้เกิดความวิตกกังวล มีความทุกข์ใจ ไม่อยากไปทำงาน รู้สึกสับสน ขัดแย้งกับตัวเอง รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายกับตัวเอง บางคนอาจขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานจนทำให้เกิดภาวะเหนื่อยหน่าย หงุดหงิด โกรธและโมโหอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพกายได้ และอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้ด้วยค่ะ
และนอกจากจะส่งผลต่อตัวพนักงานเองแล้ว ยังส่งผลต่อองค์กรด้วยเช่นกัน เพราะพนักงานที่รู้สึกหมดไฟ – หมดใจบางคนมีความสามารถสูง เป็นฟันเฟืองสำคัญในองค์กรและมีส่วนช่วยทำให้องค์กรเติบโตต่อไปได้ การที่พนักงานลาออกจึงทำให้สูญเสียบุคลากรคนสำคัญไป และต้องเสียทรัพยากรทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการสรรหาพนักงานใหม่ ซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานในองค์กร หรือเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่
แม้ว่าการลาออกจากงานจะดูเหมือนเป็นวิธีแก้ปัญหาของภาวะหมดไฟ หมดใจ และภาวะเบื่องาน แต่ก็ใช่ว่าพนักงานทุกคนสามารถลาออกได้ตามต้องการ เพราะแต่ละคนก็มีเงื่อนไขและมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สาเหตุของภาวะต่างๆ นั้น อาจสามารถแก้ไขได้และทำให้พนักงานอยู่ในองค์กรต่อไป และมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้ารู้สึกเบื่องาน หมดใจ หรือหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ จะทำได้อย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
Inspire Now ! : ภาวะเบื่องาน หมดไฟ หรือหมดใจ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดความรู้สึกว่างานไม่เหมาะสมกับตัวเอง หรือการทำงานในแต่ละวันนั้นก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดความเครียดความวิตกกังวลเรื้อรัง และไม่มีความสุขกับการทำงาน ซึ่งเราสามารถแก้ไขภาวะต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริงว่า เราไม่มีความสุขกับการทำงานเพราะอะไร เป็นเพราะเนื้องาน เพราะคนในองค์กร หรือเพราะระบบการทำงานในองค์กร หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ถ้าเรารู้สาเหตุที่แท้จริง และลงมือแก้ไขปัญหานั้นๆ ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการทำงานมากขึ้น หรือทำงานได้อย่างสบายใจมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องลาออกก็ได้นะคะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? มีใครเคยประสบกับภาวะต่างๆ เหล่านี้บ้างมั้ยคะ ? แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไร มาคอมเมนต์แชร์กันได้นะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : matichonweekly.com, malaymail.com, mentalhealth-uk.org, helpguide.org
Featured Image Credit : freepik.com/lookstudio
ชวนดูคำแนะนำการ ปฏิเสธสัมภาษณ์งาน เมื่อเจองานที่ยังไม่ใช่ พร้อมตัวอย่างเข้าใจง่าย และทิปส์สำหรับคนอยากสัมภาษณ์งานแล้วได้งาน
ชวนมารู้จัก self reflection คือ การทบทวนตัวเอง เพื่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการใช้ชีวิต ในทิศทางที่ดีกว่าเดิม อยากสะท้อนตัวเองต้องทำยังไง ทำแล้วดีกับชีวิตแค่ไหน ต้องลอง
พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ได้ง่ายๆ แค่ทำตามนี้ แชร์ทิปส์ step by step ทั้งวิธีการ และคำแนะนำเมื่อเกิดอาการท้อแท้ระหว่างการพัฒนาตัวเองที่ทำได้จริง