ชวนดู ประวัติไปรษณีย์ไทย – ไปรษณีย์โลก วิธีส่งจดหมายในอดีตจนถึงปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ?!
ชวนอ่าน ประวัติไปรษณีย์ไทย มีความเป็นมาอย่างไร วันไปรษณีย์โลก คือวันไหน ก่อตั้งขึ้นมาได้อย่างไร และ พัฒนาการ การส่งจดหมายในอดีต จนถึงปัจจุบัน
วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักเรื่องราวของบุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบของ วิชาชีพพยาบาล และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็กผู้หญิงทั่วโลกอย่างฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) กันค่ะ เธอเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” เป็นนักสถิติและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงระบบสาธารณะสุขให้มีคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งเธอยังได้ก่อตั้งโรงพยาบาลเซนต์ โทมัส (St. Thomas) และโรงเรียนพยาบาลศาสตร์ไนติงเกล (the Nightingale Training School for Nurses) ขึ้นในปี 1860 อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ไปทำความรู้จักเธอกันเลยค่ะ
เธอเกิดวันที่ 12 พฤษภาคม 1820 และเป็นลูกคนเล็กของตระกูลที่ร่ำรวย แม่ของเธอเป็นคนเข้าสังคมเก่ง ซึ่งตรงข้ามกับเธอโดยสิ้นเชิง เธอพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะต้องตกเป็นเป้าสายตาให้มากที่สุดมาตลอด ในช่วงชีวิตวัยเด็กของฟลอเรนซ์ ไนติงเกลนั้นเธอมีความสนใจในวิชาชีพพยาบาลอย่างมากและมักมีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือคนป่วยหรือคนยากจนในหมู่บ้านที่ใกล้กับหมู่บ้านที่เธออาศัย
จนกระทั่งเธออายุ 16 ปี ในขณะนั้นเธอเชื่อว่าความต้องการของเธอเป็นความต้องการของพระเจ้าเช่นเดียวกัน ฟลอเรนซ์ได้บอกกับพ่อและแม่ว่า เธออยากจะเป็นพยาบาล แต่พวกท่านไม่เห็นด้วย เนื่องจากในยุควิกตอเรีย ตระกูลไนติงเกลควรได้แต่งงานกับชายผู้เพียบพร้อมมากกว่าที่จะทำงานซึ่งถูกมองว่าไม่เหมาะกับชนชั้นฐานะของเธอ จนเมื่อฟลอเรนซ์อายุได้ 17 ปี เธอปฏิเสธการแต่งงานกับชายคนหนึ่ง และในปี 1844 เธอก็ได้เข้าเรียนวิชาชีพพยาบาลในโรงพยาบาล Lutheran ของพาสเตอร์ (Pastor Lutheran) ในเมือง Kaiserwerth ประเทศเยอรมัน
ในช่วงต้นปี 1850 ฟลอเรนซ์เดินทางกลับมายังกรุงลอนดอน ที่เธอได้ทำงานเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาล Middlesex ความสามารถของเธอโดดเด่นจนได้รับการโปรโมทให้เป็นหัวหน้าพยาบาลภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว แต่แล้วเธอก็เจอกับความท้าทายในวิชาชีพพยาบาลในเดือนตุลาคม ปี 1853 เมื่อ the Turkish Ottoman Empire ได้ประกาศสงครามกับรัสเซีย เกิดเป็นสงครามไครเมีย (Crimean War)
จนกระทั่งในปี 1854 มีทหารจำนวนไม่น้อยกว่า 18,000 นาย ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหาร ในช่วงเวลานั้นไม่มีพยาบาลประจำการที่ไครเมีย ทำให้ทหารไม่ได้รับการรักษาและได้รับการดูแลเรื่องยา รวมไปถึงความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้รักษาด้วย จนช่วงปลายปี 1854 ฟลอเรนซ์ได้รับจดหมายจากเลขาของซิดนีย์ เฮอเบิร์ท (Sidney Herbert) ให้รวบรวมพยาบาลไปช่วยดูแลรักษาทหารในไครเมีย เธอรีบตอบรับและรวมรวมทีมพยาบาลมากกว่า 34 คน ให้เดินทางไปไครเมียทันที
[affegg id=3673]
ถึงแม้พวกเธอจะได้รับคำเตือนมาบ้างเกี่ยวกับเรื่องของอุปกรณ์ที่จะใช้รักษาไม่เพียงพอหรือเรื่องพื้นที่ที่ใช้ดูแลผู้ป่วย แต่เมื่อเธอและพยาบาลคนอื่นๆ มาถึง กลับพบว่ามันยิ่งกว่าที่พวกเธอจินตนาการไว้มาก เพราะพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยเลย เหล่าทหารที่บาดเจ็บต้องนอนตามพื้น เป็นแนวยาวตามห้องโถง ซึ่งพื้นก็เต็มไปด้วยหนูและแมลง แหล่งน้ำมีสิ่งปนเปื้อน ส่วนอุปกรณ์พื้นฐานมีเพียงแค่ผ้าพันแผลและสบู่เท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจึงไม่ได้เกิดจากการปะทะกันในสงครามแต่เกิดจากโรคที่เกิดมาจากการติดเชื้อ เช่น ไข้รากสาดน้อยและอหิวาตกโรค
ฟลอเรนซ์ไม่ละวิชาชีพพยาบาลที่ได้ร่ำเรียนมา เธอรีบลงมือดูแลและจัดการทันที เธอได้จัดหาแปรงกว่า 100 อัน และขอความช่วยเหลือผู้ป่วยที่บาดเจ็บน้อยที่สุด ให้ช่วยกันทำความสะอาดตั้งแต่พื้นไปจนถึงเพดาน ฟลอเรนซ์ใช้เวลาทุกๆ นาทีของเธอไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ทุกเย็นเธอจะคอยเดินถือตะเกียงในมือ พร้อมกับการเดินดูรอบๆ เผื่อใครต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ทหารที่ได้เธอคอยช่วยเหลือจึงมักจะเรียกเธอว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” หรือ “นางฟ้าของไครเมีย”
นอกจากนี้เธอยังคอยดูแลสุขอนามัยในส่วนครัวและส่วนซักแห้งของโรงพยาบาลด้วย โดยเธอมักจะดูแลเรื่องโภชนาการกินของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นและยังจัดการให้เสื้อผ้าที่ผู้ป่วยต้องสวมใส่สะอาดอยู่เสมอ เธอยังก่อตั้งห้องเรียนและห้องสมุดให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และได้รับความบันเทิงอีกด้วย หลังสงครามจบลงเธอได้เดินทางกลับบ้านเกิดและได้รับรางวัลจากราชินีและเงินรางวัลกว่า 250,000 ดอลล่าห์จากรัฐบาล
[affegg id=3674]
ด้วยความช่วยเหลือของราชินีวิกตอเรีย ไนติงเกลได้ก่อตั้ง Royal Commission ในศูนย์สุขภาพของกองทัพ ในตอนนั้นนักสถิติที่มีชื่อว่า วิลเลียม ฟาร์ (William Farr) และจอห์น ซูเธอร์แลน (John Sutherland) ได้จัดการข้อมูลความเสียหายของกองทัพและพบว่ามีทหารเสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการต่อสู้แต่เกิดจากโรคระบาดกว่า 16,000 คน จาก 18,000 คน แต่ด้วยความสามารถของไนติงเกล เธอได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดการข้อมูลใหม่ให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ไดอะแกรมของเธอรู้จักกันในชื่อ “Nightingale Rose Diagram” ซึ่งลดอัตราการเสียชีวิตและข้อมูลที่จัดการยากๆ ลงได้ จากการที่เธอให้แนวทางเกี่ยวกับเรื่องสุขอนามัยใหม่ๆ และการจัดการเกี่ยวกับโปรแกรมสถิติให้กับกองทัพ เธอได้กลายมาเป็นสุภาพสตรีคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกของ the Royal Statistical Society และมีชื่อจารึกเป็นสมาชิกของ the American Statistical Association
[affegg id=3675]
ในปี 1860 เธอก่อตั้งโรงพยาบาลเซนต์ โทมัส และก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลศาสตร์ เธอได้กลายมาเป็นต้นแบบให้กับสาธารณะชนและเด็กผู้หญิงจำนวนมากที่อยากจะเป็นแบบเธอ ยกตัวอย่างเช่น ในตอนที่เธออายุ 38 ปี ช่วงที่มีสงครามไครเมีย เธอป่วยและร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ แต่เธอก็ลุกจากเตียงเพื่อที่จะมาดูแลรักษาผู้ป่วยและถึงแม้เธอจะลุกขึ้นมาไม่ได้ เธอก็ยังคงทำงานต่อบนเตียง
ในปี 1859 เธอยังเผยแพร่ Notes on Hospitals ที่ซึ่งจะเน้นไปในทางการบริหารโรงพยาบาลประชาชน ในสงคราม Civil War เธอเป็นผู้ช่วยในการจัดการโรงพยาบาลภาคสนามและได้ช่วยจัดการเกี่ยวกับเรื่องสุขอนามัยของทั้งกองทัพและประชาชนชาวอินเดีย แม้ว่าเธอจะไม่ได้ไปเยือนประเทศอินเดียเลยก็ตาม ในปี 1908 ในตอนที่เธออายุได้ 88 ปี เธอได้รับรางวัลเกียรติยศจากพระราชาเอ็ดเวิร์ดและในวันเกิดครบรอบอายุ 90 ปีของเธอ เธอได้รับข้อความแสดงความยินดีจากพระราชาจอร์จด้วย
ในเดือนสิงหาคม 1910 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกลป่วยเป็นไข้ แต่ดูเหมือนอาการของเธอจะดีขึ้น แต่หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 1910 อาการของเธอกลับทรุดลง และเสียชีวิตในวันที่ 13 สิงหาคม 1910 ที่บ้านของเธอเองในกรุงลอนดอน มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพยาบาลศาสตร์ไนติงเกล และฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ได้เป็นที่รู้จักในฐานะต้นแบบของพยาบาลมาจนถึงทุกวันนี้
จากที่ได้รู้จักเรื่องราวของบุคคลสำคัญของวิชาชีพพยาบาลอย่างฟลอเรนซ์ ไนติงเกลไปแล้ว ทำให้เราตระหนักรู้ได้หนึ่งอย่างว่า เรื่องของสุขอนามัยเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนั้นเรื่องราวของฟลอเรนซ์เองยังทำให้เห็นถึงความตั้งใจและความใส่ใจที่จะดูแลช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อีกหนึ่งสิ่งที่เธอมีคือความมุ่งมั่นที่จะทำวิชาชีพพยาบาล ถึงแม้เธอจะมีตัวเลือกที่สบายกว่าก็ตาม จากเรื่องราวของเธอทำให้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างหนึ่งคือเรื่องของความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำสิ่งๆ หนึ่งให้ดีที่สุดและการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในวิถีทางที่เราทำได้
Inspire Now ! : เป็นอย่างไรกันบ้างคะ หลังจากที่ได้รู้จักเรื่องราวของฟลอเรนซ์ ไนติงเกลกับวิชาชีพพยาบาลที่เธอตั้งใจอยากจะเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้เพื่อนๆ ได้แรงบันดาลใจต่อยอดกับสิ่งที่ตั้งใจอยากจะทำไหมคะ เราเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นผู้หญิงเก่งได้ ขอเพียงมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าใช่หรือไม่ ใครได้รับแรงบันดาลใจดีๆ จากเรื่องราวของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บ้าง มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : history.com, britannica.com
ชวนอ่าน ประวัติไปรษณีย์ไทย มีความเป็นมาอย่างไร วันไปรษณีย์โลก คือวันไหน ก่อตั้งขึ้นมาได้อย่างไร และ พัฒนาการ การส่งจดหมายในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ดูดวง ตุลาคม 2567 จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นกับเราบ้าง มีเรื่องอะไรที่ต้องระวังไหม มา ดูดวงปี 2567 เดือนนี้พร้อมไกด์นำทางไปกับแม่หมอ Soul Tarot กัน
มารู้จักประวัติ และ วิธีไหว้พระจันทร์ ในเดือนที่พระจันทร์เต็มดวงกัน ไหว้พระจันทร์ทำไม ปัจจุบันเทศกาลนี้เปลี่ยนไปแบบไหน มาดูวิธีไหว้เพื่อรับสเน่ห์และความโชคดีกัน