ชวนฟังสัมมนาออนไลน์ดีๆ จาก Telum Media ถึงวิธีการสื่อสารและแนวโน้มของวงการสื่อในปี 2021
156
สวัสดีค่ะวันนี้ทาง DIY INSPIRE NOW มีงานสัมมนาดีๆ โดยใช้ วิธีการสื่อสาร ผ่านทางออนไลน์ ชื่อว่า “Journalism in Southeast Asia in 2021” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564 ของบริษัท Telum Media มานำเสนอ ซึ่งในงานนี้ได้มีการเชิญวิทยาการชื่อดังทั้งหมด 5 ท่านที่อยู่ในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาให้คำแนะนำ โดยจะมีการตั้งคำถามและพูดคุยถึงสิ่งที่คาดว่าจะให้เกิดขึ้นในปี 2021 เกี่ยวกับสถานการณ์ ไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ว่าสถานการณ์ของวงการสื่อกับโควิด-19 เป็นอย่างไร, วิธีการสื่อสารในปัจจุบันควรเป็นอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่เราคาดหวังจะให้เกิดขึ้นในปีนี้? ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราลองไปดูมุมมองของพวกเขากันเลยค่ะ
งานสัมมนาที่อภิปราย วิธีการสื่อสาร และวงการสื่อในสถานการณ์โควิด-19
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ได้เปลี่ยนฉากสื่อไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของวิธีการสื่อสารในปัจจุบัน ซึ่งผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศต่างๆ ต้องมีมาตราการ lockdown ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงองค์กรต่างๆ หรือแม้แต่ห้องอ่านหนังสือพิมพ์ก็ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดกลุ่มและรายงานข่าวใหม่เพื่อความปลอดภัย
ซึ่งในงานนี้ได้จัดขึ้นโดย Telum Media ที่เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับ วิธีการสื่อสารที่ครอบคลุมที่สุดในเอเชีย โดย Telum Media มีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดและการสื่อสารผ่านนักข่าวทั่วทวีปเอเชีย ซึ่งงานที่จัดขึ้นนี้มีชื่อว่างาน “Journalism in Southeast Asia in 2021” เพื่อพูดคุยกับนักข่าวที่มีชื่อเสียงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาบทสรุปของเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 สำหรับการเขียนข่าวในปี 2021
Image Credit: FB/Telum Media
โดย Telum media ได้เชิญวิทยาการชื่อดังทั้งหมด 5 ท่านให้มาร่วมอภิปรายและหาบทสรุปด้วยกัน ได้แก่ Marites Vitug เป็น Editor ของ Rappler จากประเทศฟิลิปปินส์, Kamarul Bahrin Haron เป็นหัวหน้า Editor ของ Astro Awani จากประเทศมาเลเซีย, Stephane Delfour เป็นผู้จัดการของ Agence France-Presse ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทย, Walter Fernandez เป็นหัวหน้า Editor ของ Mediacorp จากประเทศสิงคโปร์, และ Zulfiani ‘Uni’ Lubis เป็นหัวหน้า Editor ของ IDN Times จากประเทศอินโดนีเชีย โดยทั้ง 5 ท่านจะนำความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของตัวเองมาแชร์เป็นข้อมูลเชิงลึกถึงแนวโน้มการเขียนข่าวเรื่องวิธีการสื่อสารของสื่อที่น่าจะเกิดในเอเชียออกเฉียงใต้ในปี 2021
ผู้ร่วมอภิปรายคนแรกอย่าง Walter Fernandez ได้ออกความเห็นถึงแนวโน้มสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2021 ที่ประเทศสิงคโปร์ว่า ณ ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นและยังส่งผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ในหลายๆ ภาคส่วนตั้งแต่ระดับบริษัทไปจนถึงระดับเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่วิธีการสื่อสารที่ใช้จะเป็นการนำเสนอข่าวเรื่องเกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้คนทั่วไปรู้สึกเหนื่อยและเบื่อแต่เนื่องจากการที่ต้องนำเสนอข่าวทุกวันบวกกับการมี fake news มากขึ้นในเวลานี้ทำให้ Walter ได้ออกความเห็นถึงสิ่งที่สื่อควรปรับปรุงว่า “คุณต้องเข้าใจพื้นฐานให้ถ่องแท้ก่อนเพื่อที่คุณจะได้มั่นใจว่าเรื่องราวเหล่านั้นที่คุณนำเสนอ ถูกต้องจริงๆ”
อีกทั้ง Walter ยังได้อธิบายเพิ่มถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจเวลาสื่อออกไป โดย Walter ได้บอกว่า “เราควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกให้มากกว่านี้ เพราะในความเป็นจริงแล้วตัวกลางที่ใช้ส่งต่อข้อมูลอย่างข่าวอาจไม่สามารถครอบคลุมได้ในทุกเหตุการณ์จริงๆ” ดังนั้นก่อนที่เราจะรับสารเราควรเลือกรับสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเพื่อลดการบิดเบือนของเนื้อหาที่แท้จริงและมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เราได้รับมานั้นถูกต้องจริงๆ ซึ่ง Walter ได้กล่าวปิดท้ายถึงความคาดหวังของเขาเกี่ยวกับวงการสื่อในปี 2021 นี้ว่า เขาหวังว่าคนรุ่นใหม่จะเห็นว่าอาชีพนักข่าวเป็นอาชีพที่มีเกียรติและตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพนี้ที่คอยช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
มาถึงผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 2 อย่าง Kamarul Bahrin โดยเขาได้เล่าถึงสถานการณ์ในประเทศมาเลเซียว่าไม่ค่อยดีและมีการ lock down ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคมมากขึ้น อีกทั้งการที่เรามีความรู้ไม่เท่ากันก็ทำให้เราสามารถไม่สามารถรับสารได้เท่ากันอีกด้วย ดังนั้น Kamarul เลยออกความเห็นว่าทางสื่อควรจะให้ความรู้และมีวิธีการสื่อสารแก่ประชาชนในแบบที่ง่ายและสามารถเข้าใจตรงกันได้มากที่สุด
โดยเขาได้พูดว่า “การที่เรามีแหล่งข้อมูลอยู่ในมือคือสิ่งที่ดี แต่การที่เราจะทำให้เนื้อหาที่มีสามารถเข้าถึงจิตใจคนได้จริงๆ คือสิ่งที่ยากกว่า สำหรับตัวผมเองไม่ค่อยมองหาข่าวที่เน้นแต่เรื่องการประชาสัมพันธ์ แต่สิ่งที่ผมมองหาคือการแก้ปัญหา ดังนั้นคุณควรหยุดกระจายแค่แหล่งข้อมูลและส่งเนื้อหาจริงๆ มาให้เรา” ซึ่งสิ่งที่ Kamarul คาดหวังในปี 2021 ก็คืออยากจะให้ทุกคนร่วมมือกันให้มากขึ้นและทำงานเป็น teamwork เพราะเขามองว่าการทำงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดผลดีแน่นอน นอกจากนี้เขายังได้บอกอีกว่า “การสื่อสารไม่มีวันตาย”
ต่อมาที่ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 3 คือ Marites Vitug เธอได้เล่าเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศฟิลิปปินส์ว่าปัญหาโควิดนั้นส่งผลกระทบทั้งเรื่องการเมืองและการเลือกตั้งที่ประเทศของเธอมากพอสมควร ซึ่งสิ่งที่เธอคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเกิดโควิดคือ คนส่วนใหญ่จะหันมาพึ่งพาสื่อโซเชียลมากขึ้นอย่าง YouTube เป็นต้น ซึ่งเธอคิดว่าในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนหรือเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ และการที่เธอจะใช้วิธีการสื่อสารในการเสนอข้อมูลออกไปนั้นเธอคิดว่าเธออยากจะทำให้มันละเอียดถี่ถ้วนกว่านี้นั่นก็คือ “ดิฉันอยากรับฟังความเห็นจากผู้นำในภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เราช่วยกันคิดหาทางออกของปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น” โดย Marites ได้บอกถึงความคาดหวังของเธอในปี 2021 ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 จะหมดไปและได้รับวัคซีน
ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 4 คือ Stephane Delfour เขาอยู่ที่ประเทศไทยและได้ออกความเห็นว่า “สถานการณ์ของโควิดจะยังคงเป็นหัวข้อหลักในปีนี้เหมือนเดิม” และคาดเดาไม่ได้ว่ามันจะหมดเมื่อไหร่ ซึ่งสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบในประเทศไทยตั้งแต่บริษัทเล็กๆ ที่ต้องยกเลิกกิจการไปจนถึงการท่องเที่ยวที่เป็นทางสร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจต่างๆ ซบเซาลงมาก โดย Stephane ได้เสนอว่าเขาอยากให้คนที่ทำธุรกิจอยู่ลองหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมหรือหาทางแก้ไขใหม่ๆ ที่สามารถสอดคล้องกับสถานการณ์แบบนี้ให้ได้เนื่องจากยังคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ Stephane ได้บอกความคาดหวังของเขาในปี 2021 ว่าวงการ journalism จะสามารถจัดการกับวิธีการสื่อสารที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ออกไป และสามารถพัฒนาสื่อในด้านต่างๆ ให้ดีกว่านี้
ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 5 คือ Uni Lubis เธอได้ออกความเห็นว่า “สำหรับปี 2021 เป็นเหมือนกับซีซั่นที่ 2 ของปี 2020” โดยเธอได้เล่าถึงการควบคุมสถานการณ์ไวรัส โควิด-19 ในประเทศของเธอว่าไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเพราะรัฐบาลยังหาทางจัดการที่ราบรื่นไม่ได้ ทำให้ทุกคนในประเทศต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งสำหรับ Uni เธอมองว่านี่เป็นเพียงแค่คลื่นลูกแรกเท่านั้น เพราะตอนนี้สถานการณ์ของโควิดก็กินระยะเวลามาต่อเนื่องมากกว่า 10 เดือนแล้วและคนทั่วโลกต่างก็รู้สึกเหนื่อยรวมถึงตัวเธอเองด้วย โดย Uni ได้บอกเล่ามุมมองของเธอเพิ่มเติมว่า “ดิฉันรู้สึกว่านักข่าวและสื่อคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยสอนและให้ข้อมูลเรื่องโควิดกับทุกคน แต่พวกเรากลับรู้สึกเหนื่อยและคิดว่าสิ่งที่พวกเราทำอยู่มันไม่เพียงพอ” Uni บอกว่าในปี 2021 เธอคาดหวังให้สื่อ, นักข่าว และนักวิทยาศาสตร์ร่วมมือกันใช้วิธีการสื่อสารในการกระจายข่าวสารของไวรัสโควิด-19 เพราะทั้งสื่อและนักวิทยาศาสตร์นั้นเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ดังนั้นหากพวกเขาร่วมมือกันก็จะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลมีความถูกต้องและมีประโยชน์กับสังคมมากขึ้น
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทุกอุตสาหกรรม ทำให้หลายอย่างต้องหยุดชะงักและมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด ดังนั้นสิ่งที่วงการ journalism คาดหวังจากผู้คน คือ หวังว่าพวกเขาจะให้ความสำคัญกับความถูกต้องของเนื้อหาและลดการเข้าใจผิดในวงกว้างมากขึ้น
Inspire Now ! : จากสถานการณ์โควิดอาจทำให้ทุกคนมองหาวิธีจัดการความเครียด ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับวงการสื่อที่ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นเดียวกัน แต่จากการอภิปรายของทั้ง 5 ท่านนั้น แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมแพ้และพยายามมองหาวิธีการสื่อสารออกสื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้ข้อมูลที่ดีที่สุดเช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าทุกคนจะทำงานในวงการไหนก็ตาม ขอให้ติดตามข่าวสารที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิดและไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเองในการทำงานนะคะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่า มาแชร์วิธีการสื่อสารในปัจจุบันที่ทุกคนคิดว่ามีประสิทธิภาพกันหน่อยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : telummedia.com
Facebook Comments