สวัสดีค่ะวันนี้ทาง DIY INSPIRE NOW มีงานสัมมนาดีๆ โดยใช้ วิธีการสื่อสาร ผ่านทางออนไลน์ ชื่อว่า “Journalism in Southeast Asia in 2021” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564 ของบริษัท Telum Media มานำเสนอ ซึ่งในงานนี้ได้มีการเชิญวิทยาการชื่อดังทั้งหมด 5 ท่านที่อยู่ในแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาให้คำแนะนำ โดยจะมีการตั้งคำถามและพูดคุยถึงสิ่งที่คาดว่าจะให้เกิดขึ้นในปี 2021 เกี่ยวกับสถานการณ์ ไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ว่าสถานการณ์ของวงการสื่อกับโควิด-19 เป็นอย่างไร, วิธีการสื่อสารในปัจจุบันควรเป็นอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่เราคาดหวังจะให้เกิดขึ้นในปีนี้? ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราลองไปดูมุมมองของพวกเขากันเลยค่ะ
งานสัมมนาที่อภิปราย วิธีการสื่อสาร และวงการสื่อในสถานการณ์โควิด-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ได้เปลี่ยนฉากสื่อไปอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของวิธีการสื่อสารในปัจจุบัน ซึ่งผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศต่างๆ ต้องมีมาตราการ lockdown ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงองค์กรต่างๆ หรือแม้แต่ห้องอ่านหนังสือพิมพ์ก็ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดกลุ่มและรายงานข่าวใหม่เพื่อความปลอดภัย
ซึ่งในงานนี้ได้จัดขึ้นโดย Telum Media ที่เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับ วิธีการสื่อสารที่ครอบคลุมที่สุดในเอเชีย โดย Telum Media มีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ด้านการตลาดและการสื่อสารผ่านนักข่าวทั่วทวีปเอเชีย ซึ่งงานที่จัดขึ้นนี้มีชื่อว่างาน “Journalism in Southeast Asia in 2021” เพื่อพูดคุยกับนักข่าวที่มีชื่อเสียงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อหาบทสรุปของเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 สำหรับการเขียนข่าวในปี 2021

Image Credit: FB/Telum Media
โดย Telum media ได้เชิญวิทยาการชื่อดังทั้งหมด 5 ท่านให้มาร่วมอภิปรายและหาบทสรุปด้วยกัน ได้แก่ Marites Vitug เป็น Editor ของ Rappler จากประเทศฟิลิปปินส์, Kamarul Bahrin Haron เป็นหัวหน้า Editor ของ Astro Awani จากประเทศมาเลเซีย, Stephane Delfour เป็นผู้จัดการของ Agence France-Presse ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศไทย, Walter Fernandez เป็นหัวหน้า Editor ของ Mediacorp จากประเทศสิงคโปร์, และ Zulfiani ‘Uni’ Lubis เป็นหัวหน้า Editor ของ IDN Times จากประเทศอินโดนีเชีย โดยทั้ง 5 ท่านจะนำความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของตัวเองมาแชร์เป็นข้อมูลเชิงลึกถึงแนวโน้มการเขียนข่าวเรื่องวิธีการสื่อสารของสื่อที่น่าจะเกิดในเอเชียออกเฉียงใต้ในปี 2021

ผู้ร่วมอภิปรายคนแรกอย่าง Walter Fernandez ได้ออกความเห็นถึงแนวโน้มสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในปี 2021 ที่ประเทศสิงคโปร์ว่า ณ ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นและยังส่งผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ในหลายๆ ภาคส่วนตั้งแต่ระดับบริษัทไปจนถึงระดับเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่วิธีการสื่อสารที่ใช้จะเป็นการนำเสนอข่าวเรื่องเกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้คนทั่วไปรู้สึกเหนื่อยและเบื่อแต่เนื่องจากการที่ต้องนำเสนอข่าวทุกวันบวกกับการมี fake news มากขึ้นในเวลานี้ทำให้ Walter ได้ออกความเห็นถึงสิ่งที่สื่อควรปรับปรุงว่า “คุณต้องเข้าใจพื้นฐานให้ถ่องแท้ก่อนเพื่อที่คุณจะได้มั่นใจว่าเรื่องราวเหล่านั้นที่คุณนำเสนอ ถูกต้องจริงๆ”
อีกทั้ง Walter ยังได้อธิบายเพิ่มถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจเวลาสื่อออกไป โดย Walter ได้บอกว่า “เราควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกให้มากกว่านี้ เพราะในความเป็นจริงแล้วตัวกลางที่ใช้ส่งต่อข้อมูลอย่างข่าวอาจไม่สามารถครอบคลุมได้ในทุกเหตุการณ์จริงๆ” ดังนั้นก่อนที่เราจะรับสารเราควรเลือกรับสารจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเพื่อลดการบิดเบือนของเนื้อหาที่แท้จริงและมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เราได้รับมานั้นถูกต้องจริงๆ ซึ่ง Walter ได้กล่าวปิดท้ายถึงความคาดหวังของเขาเกี่ยวกับวงการสื่อในปี 2021 นี้ว่า เขาหวังว่าคนรุ่นใหม่จะเห็นว่าอาชีพนักข่าวเป็นอาชีพที่มีเกียรติและตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพนี้ที่คอยช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

มาถึงผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 2 อย่าง Kamarul Bahrin โดยเขาได้เล่าถึงสถานการณ์ในประเทศมาเลเซียว่าไม่ค่อยดีและมีการ lock down ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคมมากขึ้น อีกทั้งการที่เรามีความรู้ไม่เท่ากันก็ทำให้เราสามารถไม่สามารถรับสารได้เท่ากันอีกด้วย ดังนั้น Kamarul เลยออกความเห็นว่าทางสื่อควรจะให้ความรู้และมีวิธีการสื่อสารแก่ประชาชนในแบบที่ง่ายและสามารถเข้าใจตรงกันได้มากที่สุด
โดยเขาได้พูดว่า “การที่เรามีแหล่งข้อมูลอยู่ในมือคือสิ่งที่ดี แต่การที่เราจะทำให้เนื้อหาที่มีสามารถเข้าถึงจิตใจคนได้จริงๆ คือสิ่งที่ยากกว่า สำหรับตัวผมเองไม่ค่อยมองหาข่าวที่เน้นแต่เรื่องการประชาสัมพันธ์ แต่สิ่งที่ผมมองหาคือการแก้ปัญหา ดังนั้นคุณควรหยุดกระจายแค่แหล่งข้อมูลและส่งเนื้อหาจริงๆ มาให้เรา” ซึ่งสิ่งที่ Kamarul คาดหวังในปี 2021 ก็คืออยากจะให้ทุกคนร่วมมือกันให้มากขึ้นและทำงานเป็น teamwork เพราะเขามองว่าการทำงานร่วมกันย่อมก่อให้เกิดผลดีแน่นอน นอกจากนี้เขายังได้บอกอีกว่า “การสื่อสารไม่มีวันตาย”

ต่อมาที่ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 3 คือ Marites Vitug เธอได้เล่าเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศฟิลิปปินส์ว่าปัญหาโควิดนั้นส่งผลกระทบทั้งเรื่องการเมืองและการเลือกตั้งที่ประเทศของเธอมากพอสมควร ซึ่งสิ่งที่เธอคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเกิดโควิดคือ คนส่วนใหญ่จะหันมาพึ่งพาสื่อโซเชียลมากขึ้นอย่าง YouTube เป็นต้น ซึ่งเธอคิดว่าในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนหรือเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ และการที่เธอจะใช้วิธีการสื่อสารในการเสนอข้อมูลออกไปนั้นเธอคิดว่าเธออยากจะทำให้มันละเอียดถี่ถ้วนกว่านี้นั่นก็คือ “ดิฉันอยากรับฟังความเห็นจากผู้นำในภาคส่วนต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เราช่วยกันคิดหาทางออกของปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น” โดย Marites ได้บอกถึงความคาดหวังของเธอในปี 2021 ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 จะหมดไปและได้รับวัคซีน

ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 4 คือ Stephane Delfour เขาอยู่ที่ประเทศไทยและได้ออกความเห็นว่า “สถานการณ์ของโควิดจะยังคงเป็นหัวข้อหลักในปีนี้เหมือนเดิม” และคาดเดาไม่ได้ว่ามันจะหมดเมื่อไหร่ ซึ่งสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบในประเทศไทยตั้งแต่บริษัทเล็กๆ ที่ต้องยกเลิกกิจการไปจนถึงการท่องเที่ยวที่เป็นทางสร้างรายได้หลักให้กับประเทศไทย ทำให้เศรษฐกิจต่างๆ ซบเซาลงมาก โดย Stephane ได้เสนอว่าเขาอยากให้คนที่ทำธุรกิจอยู่ลองหาทางเลือกอื่นเพิ่มเติมหรือหาทางแก้ไขใหม่ๆ ที่สามารถสอดคล้องกับสถานการณ์แบบนี้ให้ได้เนื่องจากยังคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 จะจบลงเมื่อไหร่ Stephane ได้บอกความคาดหวังของเขาในปี 2021 ว่าวงการ journalism จะสามารถจัดการกับวิธีการสื่อสารที่เผยแพร่ข้อมูลผิดๆ ออกไป และสามารถพัฒนาสื่อในด้านต่างๆ ให้ดีกว่านี้

ผู้ร่วมอภิปรายคนที่ 5 คือ Uni Lubis เธอได้ออกความเห็นว่า “สำหรับปี 2021 เป็นเหมือนกับซีซั่นที่ 2 ของปี 2020” โดยเธอได้เล่าถึงการควบคุมสถานการณ์ไวรัส โควิด-19 ในประเทศของเธอว่าไม่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเพราะรัฐบาลยังหาทางจัดการที่ราบรื่นไม่ได้ ทำให้ทุกคนในประเทศต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งสำหรับ Uni เธอมองว่านี่เป็นเพียงแค่คลื่นลูกแรกเท่านั้น เพราะตอนนี้สถานการณ์ของโควิดก็กินระยะเวลามาต่อเนื่องมากกว่า 10 เดือนแล้วและคนทั่วโลกต่างก็รู้สึกเหนื่อยรวมถึงตัวเธอเองด้วย โดย Uni ได้บอกเล่ามุมมองของเธอเพิ่มเติมว่า “ดิฉันรู้สึกว่านักข่าวและสื่อคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยสอนและให้ข้อมูลเรื่องโควิดกับทุกคน แต่พวกเรากลับรู้สึกเหนื่อยและคิดว่าสิ่งที่พวกเราทำอยู่มันไม่เพียงพอ” Uni บอกว่าในปี 2021 เธอคาดหวังให้สื่อ, นักข่าว และนักวิทยาศาสตร์ร่วมมือกันใช้วิธีการสื่อสารในการกระจายข่าวสารของไวรัสโควิด-19 เพราะทั้งสื่อและนักวิทยาศาสตร์นั้นเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ดังนั้นหากพวกเขาร่วมมือกันก็จะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลมีความถูกต้องและมีประโยชน์กับสังคมมากขึ้น
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทุกอุตสาหกรรม ทำให้หลายอย่างต้องหยุดชะงักและมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด ดังนั้นสิ่งที่วงการ journalism คาดหวังจากผู้คน คือ หวังว่าพวกเขาจะให้ความสำคัญกับความถูกต้องของเนื้อหาและลดการเข้าใจผิดในวงกว้างมากขึ้น
Inspire Now ! : จากสถานการณ์โควิดอาจทำให้ทุกคนมองหาวิธีจัดการความเครียด ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันกับวงการสื่อที่ได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นเดียวกัน แต่จากการอภิปรายของทั้ง 5 ท่านนั้น แสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมแพ้และพยายามมองหาวิธีการสื่อสารออกสื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้ข้อมูลที่ดีที่สุดเช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าทุกคนจะทำงานในวงการไหนก็ตาม ขอให้ติดตามข่าวสารที่ถูกต้องอย่างใกล้ชิดและไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเองในการทำงานนะคะ |
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่า มาแชร์วิธีการสื่อสารในปัจจุบันที่ทุกคนคิดว่ามีประสิทธิภาพกันหน่อยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : telummedia.com