เข้าใจพฤติกรรมคนรักผ่าน Attachment Theory คือ อะไร ? ชวนรู้จักทฤษฎีความผูกพันที่กำหนดรูปแบบความรักความสัมพันธ์
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมคนรักของเราถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ บางครั้งดูเหมือนใส่ใจ แต่บางครั้งก็เฉยชา หรือมองไปรอบตัวก็เห็นรูปแบบความรักความสัมพันธ์ของเพื่อนๆ ว่าช่างมีหลากหลายสไตล์เหลือเกิน แฟนเพื่อนบางคนก็ขี้หึง บางคนก็เย็นชา บางคนก็ดูเหมือนเอาแน่เอานอนไม่ได้ แม้กระทั่งคนที่อยู่ใน ความสัมพันธ์ไม่ชัดเจน ก็อาจจมีสาเหตุมาจากทฤษฏีความผูกพัน หรือ Attachment Theory คือ สิ่งที่สามารถอธิบายรูปแบบพฤติกรรมในความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
Attachment Theory คือ ทฤษฎีความผูกพันของจิตแพทย์ชาวอังกฤษนาม John Bolby และพัฒนาโดย Mary Ainsworth ซึ่งได้มีการศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่เลี้ยง กับเด็ก อันจะส่งผลต่อบุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่เมื่อเติบโตขึ้น และยังส่งผลต่อรูปแบบการแสดงออกในความสัมพันธ์อีกด้วย ซึ่งได้มีการแบ่งรูปแบบการแสดงออกในความสัมพันธ์ออกเป็น 4 แบบด้วยกัน ดังนี้
รูปแบบความผูกพัน 4 แบบ ตามทฤษฎีความผูกพัน ที่กำหนดพฤติกรรมในความรักความสัมพันธ์
มาดูกันว่า เราหรือคนใกล้ตัวของเรามีพฤติกรรมในความรักความสัมพันธ์เป็นยังไง แล้วมันคือความผูกพันรูปแบบไหน ?
1. รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง (Secure Attachment)
บุคคลที่มีรูปแบบความผูกพันที่มั่นคงในความสัมพันธ์ ในวัยเด็กมักได้รับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู และเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการได้รับการปกป้องหรือต้องการความปลอดภัย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็สามารถเข้ามาดูแลอยู่ใกล้ๆ ได้ทันที ซึ่งส่งผลให้เด็กรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
Attachment Theory คือการอธิบายว่า เมื่อเด็กเติบโตขึ้นและอยู่ในความสัมพันธ์ มักจะเป็นคนที่รู้ถึงคุณค่าในตัวเอง และรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ในความสัมพันธ์หรือเมื่อได้ใกล้ชิดกับผู้อื่น รวมถึง ไว้วางใจผู้อื่นและเชื่อว่าตัวเองจะได้ความรักตอบกลับมา นอกจากนี้ ยังเป็นคนรักที่สามารถพึ่งพาได้ ยินดีให้ความรักและเต็มใจช่วยเหลือ สนับสนุนคนรักของตนอย่างเต็มที่ค่ะ
วิธีพัฒนาความสัมพันธ์ : ตามทฤษฎีความผูกพันแล้ว รูปแบบความผูกพันแบบมั่นคง ถือได้ว่าเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพมากที่สุดค่ะ อย่างไรก็ตาม หากทั้งเราและคนรักต่างมอบความรักให้กันและกันอย่างสม่ำเสมอ เชื่อใจกันและกัน มีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อกัน ให้กำลังใจและสนับสนุนคนรัก รับรองว่า จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีที่ใครๆ ก็ต่างอิจฉาอย่างแน่นอนค่ะ
[affegg id=4230]
2. รูปแบบความผูกพันแบบกังวล (Anxious Attachment)
คนที่มีรูปแบบความผูกพันแบบกังวล มักจะรู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจ (Insecure) อยู่เสมอ Attachment Theory ที่ว่าคือการอธิบายบุคลิกภาพของคนกลุ่มนี้ว่า ในวัยเด็กมักถูกเลี้ยงดูแบบห่างเหินหรือไม่ได้รับความใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง อธิบายให้เห็นภาพคือ บางครั้งก็ถูกตามใจจากพ่อแม่ แต่บางครั้งก็ถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวและไม่ได้รับความสนใจจากพ่อแม่เนื่องจากพ่อแม่ต้องไปทำงานหรือมีภาระอื่น ๆ
เมื่อเติบโตขึ้นจึงรู้สึกไม่มั่นคงในความสัมพันธ์ เนื่องจากกังวลว่า คนรักจะทิ้งตัวเองไป กลัวการถูกปฏิเสธหรือถูกทอดทิ้ง โดย Attachment Theory ที่ว่าคือการขยายความรูปแบบความสัมพันธ์ว่า จะมีพฤติกรรมติดคนรักมาก อยากอยู่กับคนรักตลอดเวลา หรืออาจมีพฤติกรรมหึงหวงอย่างรุนแรง หรือพึ่งพาคนรักมากเกินไป และไม่มั่นใจในความรัก
วิธีพัฒนาความสัมพันธ์ : หากคุณมีคนรักที่มีรูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้ ควรให้ความเชื่อใจกับเค้ามากๆ และสร้างความมั่นคงทางใจให้กับคนรักว่า จะไม่ทอดทิ้งเค้า และรักเค้าอย่างจริงใจ ให้ความสม่ำเสมอในความสัมพันธ์ แต่ถ้าเป็นคุณเองที่มีพฤติกรรมแบบนี้ ก็ค่อยๆ ปรับตัวโดยการ เชื่อใจคนรักให้มากขึ้น เคารพและมองเห็นคุณค่าในตัวเอง เรียนรู้ว่าการรักตัวเองคืออะไร เราทุกคนมีคุณค่าในตัวเองอยู่แล้ว มั่นใจในตัวเองนะคะ
[affegg id=4231]
3. ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant Attachment)
บุคคลที่มีรูปแบบความผูกพันธ์แบบหลีกเลี่ยง ในวัยเด็กมักถูกเลี้ยงดูอย่างห่างเหิน หรือไม่ได้รับความสนใจ ปราศจากการเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงดู ไม่ได้รับความรักอย่างเต็มที่ หรือผู้เลี้ยงดูปฏิบัติกับเด็กอย่างเฉยชา ไม่ใส่ใจ รวมไปถึง มีการใช้ความรุนแรงกันภายในครอบครัว
Attachment Theory ที่ว่าคือสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ประสบการณ์ในวัยเด็กจะส่งผลใหมีบุคลิกภาพแบบ Loan Wolf คือ รักอิสระ รักสันโดษ หลีกเลี่ยงที่จะมีความสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น มีกำแพงในใจ และต้องการพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด แม้มีความรัก ก็ยังต้องการอิสระและพื้นที่ส่วนตัวสูง บางครั้งอาจถึงขั้นเย็นชาและไม่ใส่ใจคนรัก
วิธีพัฒนาความสัมพันธ์ : หากคุณเป็นคนประเภท Avoidant และกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ เราแนะนำให้คุณค่อยๆ เปิดใจให้ผู้อื่นมากขึ้นนะคะ ออกไปทำกิจกรรมกับคนรักบ่อยๆ ใช้เวลาร่วมกันให้มากขึ้น และถ้าคุณกำลังมีคนรักที่เข้าข่ายคนประเภทนี้ อย่าน้อยใจเขาเลยค่ะ เพราะความจริงแล้ว คนประเภทนี้ก็อยากได้รับความรัก ความเอาใจใส่อยู่เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเขาไม่อยากเสียใจก็เท่านั้น ก็เลยดูเหมือนเย็นชา ไม่ใส่ใจ ถ้าคุณสามารถทำให้เค้ารู้สึกว่าได้รับความรักอย่างจริงใจ คอยอยู่ข้างๆ ในเวลาที่เค้าต้องการ เท่านี้ก็พอแล้วค่ะ
4. ความผูกพันแบบหวาดกลัว (Fearful Attachment / Disorganized Attachment)
บุคคลที่มีรูปแบบความผูกพันที่หวาดกลัว Attachment Theory คือกล่าวว่า มักเป็นคนที่มีประสบการณ์ในวัยเด็กไม่ค่อยดีนัก เช่น ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง หรือสูญเสียคนใกล้ชิด หรือมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้กลายเป็นคนไม่ไว้ใจผู้อื่น
เมื่อเติบโตขึ้นและอยู่ในความสัมพันธ์ มักจะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนอยู่สักหน่อย โดย Attachment Theory คือได้กล่าวไว้ว่า บุคคลประเภทนี้ไม่อยากมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเนื่องจากกลัวถูกทำร้าย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการความรักความใส่ใจซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไปในวัยเด็ก สังเกตได้จาก เมื่อแรกเริ่มความสัมพันธ์มักอยากใช้เวลากับคนรัก อยากอยู่ใกล้ แต่ถ้าหากความสัมพันธ์มีความใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้นเรื่อยๆ จะเริ่มตีตัวออกห่าง เพราะไม่อยากผูกพันทางอารมณ์มากเกินไป เนื่องจากกลัวเสียใจหรือกลัวการถูกหักหลัง กลัวถูกทำร้ายจิตใจ
วิธีพัฒนาความสัมพันธ์ : ถ้าเป็นคุณเองที่มีพฤติกรรมในความสัมพันธ์แบบหวาดกลัว ให้เริ่มเรียนรู้ที่จะตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง เปิดใจให้กับคนรอบข้างและไม่หวาดระแวงกับความสัมพันธ์ เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ระยะยาวอย่างใจเย็น ไม่ต้องกดดันตัวเองค่ะ และถ้าคุณมีคนรักที่เป็นแบบนี้ สิ่งที่จะต้องทำคือ ให้ความรักและความเชื่อใจกับเค้า และให้ความสม่ำเสมอ เพื่อให้คนรักรู้สึกมั่นคงในความสัมพันธ์
[affegg id=4232]
และนี่ก็เป็นรูปแบบความผูกพันทั้ง 4 แบบที่นำเอา Attachment Theory คือทฤษฎีความผูกพันที่นำมาขยายความรูปแบบความสัมพันธ์และพฤติกรรมของคู่รักในแต่ละแบบ หากใครกำลังสงสัยในรูปแบบความสัมพันธ์ของตัวเองอยู่ หรือ ชีวิตคู่ไม่มีความสุข เพราะคนข้างกายมีพฤติกรรมที่ชวนให้เราหงุดหงิดและไม่เข้าใจ บางทีอาจเป็นเพราะประสบการณ์ความผูกพันในวัยเด็กที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพในตอนนี้ก็เป็นได้ ทฤษฎีความผูกพันที่เราเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้ อาจช่วยให้เราเข้าใจคนรักของของตัวเอง หรือแม้กระทั่งเข้าใจตัวเองได้มากขึ้นก็ได้นะคะ
Inspire Now ! : การที่จะมีความรักความสัมพันธ์ที่ดีได้นั้น สิ่งที่สำคัญคือ เข้าใจและยอมรับตัวตนของอีกฝ่าย แต่ในขณะเดียวกันก็ก้าวเข้าหากันคนละครึ่งทาง สิ่งไหนที่ไม่ดีก็ปรับปรุง สิ่งไหนดีดีอยู่แล้วก็รักษาไว้ การรู้ถึงที่ไปที่มาของพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์จะทำให้เราเข้าใจคนรักและเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น และยินดีที่จะจับมือก้าวผ่านอุปสรรคปัญหาไปด้วยกัน |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าใช่ไหม ? เมื่อรู้จักและเข้าใจ Attachment Theory มากขึ้นแล้ว ลองนำไปปรับใช้กับคนรักของคุณดูนะคะ แล้วมาคอมเมนต์บอกเราด้วยว่า ความสัมพันธ์ของคุณราบรื่นขึ้นไหม ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, positivepsychology.com, helpguide.org
Featured Image Credit : freepik.com/teksomolika