พาสปอร์ตทำที่ไหน ? แจกพิกัด พร้อมคู่มือ (ทำครั้งแรก-ต่ออายุ) อัปเดตล่าสุด เข้าใจง่าย !
พาสปอร์ตทำที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง ชวนเช็กสิ่งที่ต้องเตรียม ไม่ว่าจะทำครั้งแรก หรือต่ออายุ ต้องเตรียมอะไร ที่ไหนเปิดบ้าง หาคำตอบแล้วไปเตรียมทำหนังสือเดินทางกัน
“วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง” เพลงคุ้นหูที่มักจะเปิดคลอให้เราได้ยินกันบ่อยๆ ในช่วงราวๆ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ในบทความนี้ นอกจาก DIYINSPIRENOW จะมาพาทุกคนมาเช็กวันที่ลอยกระทงกันแล้ว ก็จะพาไปดูประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงด้วยว่าเป็นอย่างไร ? มาทำความรู้จักเทศกาล ประเพณีสำคัญที่เป็นหนึ่งใน Soft Power ของไทยให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
ประเพณีลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทยซึ่งจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี โดยผู้คนจะนำกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติมาลอยในแม่น้ำลำคลองเพื่อขอขมาพระแม่คงคาและบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที พร้อมกับอธิษฐานขอพรให้ชีวิตพบเจอแต่สิ่งดีๆ นอกจากการลอยกระทงแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น การประกวดนางนพมาศ การแสดงดนตรีไทย และการจุดดอกไม้ไฟ ทำให้บรรยากาศในคืนวันเพ็ญสวยงามและเต็มไปด้วยความรื่นเริง เอาหล่ะ เรามารู้จักเทศกาลนี้ให้มากขึ้นกันต่อดีกว่าค่ะ
ในปี พ.ศ. 2567 นี้ เทศกาลวันลอยกระทงจะตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน และถ้าหากนับตามจันทรคติไทย และจันทรคติล้านนาแล้ว ก็จะเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ที่เรียกกันว่าวันเพ็ญ ก็เนื่องจากเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง และสว่างมากที่สุดของปี ส่วนลอยกระทง 2568 จะตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน นั่นเองค่ะ
เชื่อหรือไม่ว่าประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทงนี้ ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้วค่ะ ในสมัยก่อนจะเรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และยังมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่มีใจความว่ามีการเผาเทียนเล่นไฟเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสุโขทัยเลยก็ว่าได้ค่ะ ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน เทศกาลลอยกระทงดำเนินมาเรื่อยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ 1-3 ในสมัยนั้นขุนนางในวัง มักจะประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดกัน ทำให้ต้องใช้จำนวนคน และเงินจำนวนมาก ภายหลังรัชกาลที่ 4 ก็ได้ยกเลิกการประกวดนี้ไปและให้มีการจัดทำเรือลอยประทีปแทน ทั้งนี้ แม้ว่าพิธีการจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่สำหรับช่วงวันเวลาแล้ว ก็ยังคงยึดเอาวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นมาตรฐานค่ะ
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู อีกว่า จะมีพิธีลอยโคมประทีปเพื่อบูชาพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ซึ่งต่อมาชาวพุทธได้นำมาปรับใช้ในการบูชาองศาสดา แต่เปลี่ยนมาเป็นการลอยกระทงดอกบัวไปตามสายน้ำเพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนั่นเอง และยังมีอีกความเชื่อหนึ่งว่า ลอยกระทงเป็นการบูชาขอขมาต่อพระแม่คงคา เทพีแห่งสายน้ำผู้หล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิตอีกด้วย
ประเพณีนี้ถือเป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งของไทย โดยมาจากหลายความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นตามที่ได้กล่าวไป สำหรับคุณค่า และความสำคัญของเทศกาลมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ค่ะ
จองทริปเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ กับ Klook
เทศกาลลอยกระทงก็ไมได้นิยมเฉพาะในคนไทยเท่านั้นนะคะ แต่ยังเป็นเทศกาลสำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างชาติพากันตื่นตาตื่นใจไปกับความงดงามอลังการ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลประเพณียี่เป็งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะมีการปล่อยโคมลอยเป็นพันๆ หมื่นๆ ดวง ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์งดการปล่อยคอมลอยอันเนื่องมาจากเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่การแขวนโคมสวยๆ ตามอาคารสถานที่ การจัดทำซุ้มประตูป่า การจุดพลุ การจุดผางประทีปก็ยังคงมีอยู่ หรือจะเป็นเทศกาลเผาเทียนเล่นไฟ ลอยกระทง ที่จังหวัดสุโขทัย ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และมีความงดงามอลังการมากเลยทีเดียว ทั้งพิธีบวงสรวงบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าสุโขทัย มีขบวนแห่กระทง การแสดงแสงสีเสียง เป็นต้น สำหรับกิจกรรมหลักๆ ในเทศกาล มีอะไรบ้าง ไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันค่ะ
ในปี 2567 ที่ กรุงเทพมหานคร ก็มีการจัดงานลอยกระทงหลากหลายที่เลยค่ะ เช่น ในวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2567 มีงานสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ณ คลองผดุงกรุงเกษม (บริเวณย่านหัวลำโพง) วันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2567 งานลอยกระทงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร นอกจากนี้สถานที่อื่นๆ อย่างเช่น วัด, สวนสาธารณะ มหาวิทยาลัย หรือห้างสรรพสินค้าอย่าง ICON SIAM ก็ยังมีจัดกิจกรรมด้วยเช่นกัน
สำหรับต่างจังหวัดก็จะมีหลากหลายจังหวัดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น สุโขทัย เชียงใหม่ สมุทรสงคราม ตาก กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ใครอยากจะดูข้อมูลเพิ่มเติม ลองดูเพิ่มได้อีกที่เว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ได้เลยค่ะ
ในยุคสมัยนี้เราต้องใส่ใจเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันเป็นพิเศษค่ะ การประดิษฐ์กระทงถือว่าเป็นการสร้างสรรค์สิ่งงดงามอย่างหนึ่ง แต่ความงดงามนี้อาจจะไปทำลายสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากมีคนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก จึงทำให้เกิดขยะจำนวนมากมายมหาศาลด้วย เช่น กระทงลอยเกลื่อนตามแม่น้ำ แม้ว่าจะทำมาจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม แต่ถ้าหากมีจำนวนมากก็ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ หรือจะเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากการเอาใบตองมาทำกระทง เราจึงควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการลอยกระทง 1 กระทง ต่อ 1 ครอบครัวเท่านั้น เพื่อเป็นการลดจำนวนกระทง หรือจะเป็นการลอยกระทงออนไลน์ ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่สามารถปรับแต่งกระทงของตัวเองได้อย่างสวยงาม แล้วก็อิ่มใจไม่แพ้การลอยกระทงของจริงเลยค่ะ
ซื้อประกันท่องเที่ยว อุ่นใจ ทุกการเดินทาง
Inspire Now ! : ประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยกระทงเป็นอย่างไร ในปี 2567 นี้ ลอยกระทงวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ก็ได้รู้กันไปแล้วนะคะ ถ้าใครมีแผนอยากจะไปชมความงดงามของประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ หรือที่จังหวัดไหนก็ตาม ก็อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก อีกเรื่องก็คือการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งในเรื่องของการทำกระทงหรือการทิ้งขยะ ควรทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางและไม่ทิ้งขยะตามแม่น้ำลำคลองหรือตามถนนที่จัดงานต่างๆ ยังไงก็เที่ยวอย่างสนุกและมีสตินะคะ |
---|
DIYINSPIRENOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? ใครชอบเทศกาลลอยกระทงบ้าง ชอบกิจกรรมไหนเป็นพิเศษ มาคอมเมนต์บอกกันได้นะคะ ♡
พาสปอร์ตทำที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง ชวนเช็กสิ่งที่ต้องเตรียม ไม่ว่าจะทำครั้งแรก หรือต่ออายุ ต้องเตรียมอะไร ที่ไหนเปิดบ้าง หาคำตอบแล้วไปเตรียมทำหนังสือเดินทางกัน
พาเที่ยว นองปิง ฮ่องกง พิกัดห้ามพลาดเมื่อไปเที่ยวฮ่องกง เดินทางยังไง ค่าตั๋วเท่าไหร่ ดูรีวิวก่อนเดินทางกัน
WOW Festival 2025 งานดีๆ ที่ชวนคนเมืองมาร่วมออกแบบเมืองที่อยากอยู่ ผ่านกิจกรรมน่าสนใจมากมาย และตลาดนัดชุมชน ในบรรยากาศธรรมชาติ 11-19 มกราคม 2025